108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน (ซ้องกั๋ง)

108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน (ซ้องกั๋ง)

ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน (อังกฤษ: Water Margin, Outlaws of the Marsh, All Men Are Brothers จีน: ซ้องกั๋ง 宋江 หรือ สุยหู่จ้วน 水浒传) เป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับ สามก๊ก ไซอิ๋ว และความฝันในหอแดง

108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่จับความมาจากเหตุการณ์ช่วงปลายราชวงศ์เป่ยซ่ง ราว ค.ศ. 900 ว่าด้วยเรื่องของกบฏชาวนา หรือผู้กล้า 108 คนที่รวมตัวกันปกป้องบ้านเมือง แต่เดิมเป็นเรื่องเล่าปากต่อปาก ต่อมาศิลปินพื้นบ้านนำเรื่องเล่านี้มาผูกเป็นเพลงงิ้ว เรื่องสุยหู่จ้วนมีการประพันธ์ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดย ซือไน่อัน และต่อมาได้รับการขัดเกลาจาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์นวนิยายสามก๊ก บางแห่งว่าซือไน่อันเป็นอาจารย์ของหลอกว้านจง แต่บางแห่งก็ว่าเป็นคนเดียวกัน ชื่อเรื่อง สุยหู่จ้วน ในภาษาจีนมีความหมายว่า “ลำนำริมฝั่งน้ำ” หมายถึงสถานที่ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวหรือฐานทัพของผู้กล้าทั้งร้อยแปดคน คือริมทะเลสาบเหลียงซานป๋อ

คุณค่าของนิยายเรื่อง “ซ้องกั๋ง” เป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในระดับสากล อีกทั้งยังได้รับการประเมินว่าเป็นวรรณกรรมเอกของโลก ด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์ที่เป็นวรรณกรรมของมวลชน เหมาะสำหรับผู้คนทุกรุ่นทุกวัย กระทรวงศึกษาธิการจีนจึงได้กำหนดให้นักเรียนมัธยมต้องอ่านนิยายเรื่องนี้เพราะนิยายเรื่องนี้มีความผูกพันระหว่างบุคคล มีเนื้อหาลึกซึ้งที่ส่งผลสะเทือนต่อจิตใจของมนุษย์ เด็กๆ จะชอบเพราะอ่านแล้วเข้าใจง่ายสนุกสนานน่าติดตาม เป็นเรื่องของตัวเด่น 108 คนที่มีที่มาที่ไปต่างกัน แต่มีเหตุให้ต้องมารวมตัวกันที่ป่าแห่งหนึ่ง เพื่อต่อสู้กับทางราชสำนัก เมื่ออ่านจบจะทำให้เด็กๆ อยากเป็นวีรบุรุษอย่างตัวเอกในเรื่อง หนังสือเล่มนี้สอนให้คนรู้จักต่อสู้เพื่อทวงสิทธิประโยชน์ของตน บทบาทที่สำคัญที่เร้าใจที่สุดคือ การตอบคำถามที่ว่า เราจะให้ผู้อื่นข่มเหงรังแกเราอย่างไม่มีเหตุผลต่อไปหรือไม่ หัวใจของเรื่องก็คือการกล้าสู้ กล้าอาละวาด กล้าต่อต้าน กล้าเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่อยุติธรรมต่างๆ

“ซ้องกั๋ง” เป็นเรื่องราวของชาวบ้านที่จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลในราชวงศ์ซ้องเหนือ ( 北宋 ค.ศ.960-1127) เพื่อป้องกันตัว เพื่อความอยู่รอด ถ้าพวกเขาไม่สู้ พวกเขาก็จะไม่มีอนาคต ไม่มีชีวิตรอด

ตัวละครที่เป็นที่รู้จักกันดีในนิยาย “ซ้องกั๋ง” มีอยู่ด้วยกันหลายคน หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของตัวเอกคนหนึ่งที่มีนามว่า “หลินชง”(林冲) หลินชงเป็นครูฝึกทหารที่ถือว่ามีตำแหน่งไม่เล็กนัก แต่เขาก็ยังถูกขุนนางใหญ่ที่เป็นคนโปรดปรานของกษัตริย์รังแก จนถึงขนาดจะฆ่าล้างครอบครัว ตอนแรกหลิงชงได้แต่ก้มหน้ายอมรับโทษทัณฑ์ต่างๆ ตามที่ตนพลาดท่าเสียทีจนถูกใส่ความ แต่ท้ายที่สุดเขาก็ทนไม่ไหวจึงฆ่าผู้คุม และเดินทางไปร่วมกับผู้กล้าทั้งหลายที่รวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลที่เขาเหลียงซาน เรื่องราวที่สนุกสนานน่าติดตามของผู้กล้าทั้งหลายเหล่านั้นยังมีให้ติดตามค้นหาอีกมากมาย นอกเหนือจากเรื่องของหลินชง ยังมีเรื่องของ “บู๊สง(武松) ผู้ฆ่าเสือด้วยมือเปล่า” ฯ สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดตามหาอ่านกันได้จากนิยายเรื่อง “ซ้องกั๋ง”

จุดมุ่งหมายสูงสุดของหนังสือเล่มนี้คือ อยากให้ทุกคนเป็นคนกล้า กล้าที่จะแสดงออก กล้าสู้ กล้าที่จะยืนอยู่ในจุดยืนที่ถูกต้อง เป็นตัวตั้งตัวตี เป็นกำลังสำคัญของชุมชน มีคำพูดกล่าวไว้ว่า “คนดีมีมากแต่คนกล้ามีน้อย”หวังว่าคำพูดนี้จะไม่เป็นความจริง เพราะเราจะช่วยกันเพิ่มคนดีและคนกล้าในสังคมของเราให้มากยิ่งๆ ขึ้น!


ภาพวาดจากม้วนหนังสือโบราณของจีน เรื่อง สุยหู่จ้วน วาดราวคริสต์ศตวรรษที่ 15

เรื่อง สุยหู่จ้วน มีการแปลเป็นไทยแล้วหลายสำนวน และเรียกชื่อไปต่างๆ กัน เช่น ซ้องกั๋ง หรือ ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน

ฉบับแปลครั้งแรกและแพร่หลายที่สุดแปลโดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นในต้นรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานว่า “ซ้องกั๋ง” เป็นหนังสือที่ดีและล้ำค่า จัดเป็นวรรณกรรมชั้นเยี่ยมและประจวบกับผู้แปลมีบรรดาศักดิ์เป็นถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งนับได้ว่าผลงานในด้านนี้เป็นเพชรอันล้ำค่าจริง ๆ

สำนวนแปลล่าสุดเป็นของ รัถยา สารธรรม พิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ เมื่อปี พ.ศ. 2546 ใช้ชื่อเรื่องว่า 108 ผู้กล้าเหลียงซันปอ

โครงเรื่อง
เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าซ่งฮุยจงฮ่องเต้ ช่วงนี้ฮ่องเต้อ่อนแอ และขุนนางกังฉินที่มีอิทธิพลมากจนถึงขั้นฮ่องเต้ต้องเกรงใจนั้น ชื่อ เกาฉิว

ตัวละครทั้ง 108 คนนั้นมีประวัติความเป็นมาแทบจะเหมือนกันหมด คือ ถูกขุนนางกลั่นแกล้ง กดขี่ข่มเหง เป็นต้น ทำให้แต่ละคนลี้ภัยออกจากเมืองของตัวเอง แล้วมารวมตัวกัน ณ เขาเหลียงซาน เพื่อปราบปรามขุนนางชั่ว อันที่จริงแล้ว เหล่าผู้กล้าทั้ง 108 นี้คือเทพยดาจุติลงมาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ เมื่อพวกเขาได้มาพบกัน ก็สาบานตัวเป็นพี่น้องกัน

ผู้นำคนสำคัญของผู้กล้าเขาเหลียงซาน คือ ซ่งเจียง หรือซ้องกั๋ง ซ่งเจียงนั้นได้รับความยกย่องจากชาวยุทธทั่วหล้าว่า เป็น “ฝนทันใจ” เนื่องจากเป็นคนที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี และส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือชาวยุทธมาตลอดจนได้แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้า

เรื่องราวตอนต้น ๆ จะกล่าวถึงที่มาของตัวละครบางตัวที่สำคัญว่า เหตุใดถึงได้เข้ามารวมกลุ่มเขาเหลียงซานได้ เช่น พระหลู่จื้อเซิน ซือจิ้น หวังจิ้น หลี่ขุย ซ่งเจียง เป็นต้น ส่วนกลางเรื่องจนถึงท้ายเรื่องนั้น จะเกี่ยวข้องกับ การที่เหล่าผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซานต้องออกไปปราบปรามกบฏกลุ่มต่าง ๆ ทั่วแผ่นดิน ตามราชโองการของฮ่องเต้ (ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นแผนหลอกใช้ของเกาฉิวอีกที) การไปปราบกบฏกลุ่มต่าง ๆ นั้น แสดงถึงการรบโดยขาดการวางแผนอย่างดี จนทำให้สูญเสียผู้กล้าไปมากมายอย่างน่าเสียดาย เพราะผู้กล้าหลายคนเสียชีวิตจากกับดักต่างๆ เป็นอันมาก และเป็นการรบที่รบเสียจนแทบไม่ได้หยุดหย่อน ผู้กล้าบางคนทนไม่ไหวแยกตัวออกไปจากกลุ่ม ในท้ายที่สุด ซ่งเจียงก็ปราบกบฏทั่วแผ่นดินได้หมด ฮ่องเต้จึงได้พระราชทานเหล้าให้แก่ซ่งเจียง แต่เกาฉิวได้แอบใส่ยาพิษไปในเหล้าด้วย ทำให้ซ่งเจียงเสียชีวิต จึงทำให้ไม่สามารถรวมตัวผู้กล้าที่รอดชีวิตจากศึกครั้งนี้ได้อีก และเหล่าผู้กล้าที่เหลือก็ถูกเกาฉิวสังหารไปทีละคนจนหมด

108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน
ผู้ก่อตั้ง
เฉาไก้
36 ดาวฟ้า
ซ่งเจียง | หลูจุ้นอี้ | อู๋ย่ง | กงซุนเซิ่ง | กวนเซิ่ง | หลินชง | ฉินหมิง | ฮูเอี๋ยนจั๋ว | ฮัวหยง | ไฉจิ้น | หลี่ยิ่ง | จูถง | หลู่จื้อเซิน | อู่ซง | ต่งผิง | จางชิง | หยางจื้อ | สีว์นิ่ง | สั่วเชา | ไต้จง | หลิวถัง | หลี่ขุย | สื่อจิ้น | มู่หง | เหลยเหิง | หลี่จุ้น | หยวนเสี่ยวเอ้อ | จางเหิง | หยวนเสี่ยวอู่ | จางซุ่น | หยวนเสี่ยวชี | หยางสง | สือซิ่ว | เซ่เจิน | เซ่เป่า | เอียนชิง
72 สหายดิน
จูอู่ | หวงซิ่น | ซุนลิ | ซวนจ้าน | ห่าวซือเหวิน | หันเทา | เผิงจี่ | ซั่นถิงกุย | เว่ยติ้งกั๋ว | เซียวย่าง | เผยซวน | โอวเผิง | เติ้งเฟย | เอียนซุ่น | หยางหลิน | หลิงเจิ้น | เจี่ยงจิ้ง | หลี่ว์ฟาง | กัวเซิ่ง | อันเต้าเฉียน | หวงฝู่ตวน | หวังอิง | หู้ซันเหนียง | เป้าซี่ว์ | ฝานยุ่ย | ข่งหมิง | ข่งเลี่ยง | เซี่ยงชง | หลี่เอี่ยน | จินต้าเจียน | หม่าหลิน | ถงเวย | ถงเหมิ่ง | เมิ่งคัง | โหวเจี้ยน | เฉินต๋า | หยางชุน | เจิ้งเทียนโซ่ว | เถาจงวั่ง | ซ่งชิง | เย่เหอ | กงว่าง | ติงเต๋อซุน | มู่ชุน | เฉาเจิ้ง | ซ่งว่าน | ตู้เชียน | เซียหย่ง | ซือเอิน | หลี่จง | โจวทง | ทังหลง | ตู้ซิง | โจวเวียน | โจวยุ่น | จูกุ้ย | จูฟุ | ไช่ฟู | ไช่ชิ่ง | หลี่ลิ | หลี่หยุน | เจียวถิ่ง | สือหย่ง | ซุนซิน | กู้ต้าเส่า | จางชิง | ซุนเอ้อเหนียง | หวังติ้งลิ่ว | วี่เป่าซื่อ | ไป๋เซิ่ง | สือเชียน | ต้วนจิ่งจู้

เปรียบเทียบวรรณคดีจีนเรื่องสุยหู่จ้วนกับเรื่องซ้องกั๋ง

ซ้องกั๋งมีการถ่ายทอดเนื้อหาหลักและภาพรวมได้ไม่แตกต่างจากสุยหู่จ้วน แต่สิ่งที่แตกต่างกันแน่นอนคือ สุยหู่จ้วนซึ่งเป็นต้นฉบับภาษาจีนมีรายละเอียดปลีกย่อยมากกว่าซ้องกั๋งซึ่งเป็นฉบับแปล สุยหู่จ้วนมีพัฒนาการมาจากเรื่องเล่าที่ใช้ข้อมูลของตัวละครและเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ผสมผสานกับรูปแบบการเขียนบทละครอุปรากรจนกลายมาเป็นวรรณคดี ส่วนซ้องกั๋งเป็นการนำวรรณคดีจีนมาถ่ายทอดโดยการแปลให้อ่านเล่นเหมือนนิยาย รายละเอียดบางส่วนผู้แปลและผู้เรียบเรียงอาจอธิบายเรื่องราวและตีความเพื่อเสริมความเข้าใจให้ผู้อ่านเข้าถึงเรื่องราวได้ชัดเจนและลึกซึ้งยิ่งขึ้น อย่างเช่น รายละเอียดที่เกี่ยวกับฉาก และ นิสัยตัวละคร

108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลียนซาน จะถูกสร้างเป็นภาพยนต์จอเงิน

“แอนดรูว์ เลา” (หลิวเหว่ยเฉียง) ผู้กำกับที่เคยสร้างผลงานสะท้านเอเชียอย่างเรื่อง Infernal Affairs ที่ถูกฮอลลีวูดดัดแปลงจนไปคว้ารางวัลออสการ์ในเรื่อง The Departed ในปีล่าสุด จะกลับมาอีกครั้งในโปรเจ็คท์สุดยักษ์อย่างการนำเอา 1 ใน 4 อมตะวรรณกรรมของจีนอย่างเรื่อง “ซ้องกั๋ง” มาขึ้นจอใหญ่ โดยตั้งเป้าในการดึงยอดฝีมือนักแสดงที่เคยร่วมงานกันใน “2 คน 2 คม” กลับมาสร้างความยิ่งใหญ่ในไตรภาคเรื่องนี้อีกครั้ง โดยมีงบประมาณในการสร้างกว่า 600 ล้านบาท โดยตั้งเป้าจะถ่ายทำออกมาเป็นไตรภาค โดยภาคแรกจะเริ่มถ่ายทำกันในปีหน้า

แม้ว่ายังไม่มีการยืนยันเรื่องผู้แสดงที่จะมารับบทตัวละครที่โด่งดังเรื่องนี้ แต่ในการสัมภาษณ์ของเลาเผยว่า เขาหวังใจอย่างยิ่งว่าเหล่าซูเปอร์สตาร์ที่เคยร่วมงานกับเขาในไตรภาค Infernal Affairs ทั้ง หลิวเต๋อหัว, เหลียงเฉาเหว่ย, เจิ้งจือเหว่ย และ หว่องซิวเซิน จะกลับมาร่วมงานด้วยกันในโปรเจ็คท์ยักษ์ใหญ่ชิ้นนี้

โดยเขาเผยว่าบทบาทของเขาครั้งนี้จะอยู่ในฐานะเฮียดัน ก็คือปลุกกระแสของเรื่องด้วยการกำกับผลงานภาคแรกออกมาก่อน หลังจากนั้นภาคที่ 2 เขาจะแตะมือกับยอดผู้กำกับอีกรายอย่าง ตู้ฉีฟง ให้มาสานต่อ ส่วนผู้กำกับที่จะรับหน้าที่ปิดตำนานได้แก่ เฝิงเสี่ยวกัง หรือไม่ก็ Lu Chuan ผู้กำกับที่โด่งดังจากเรื่อง Mountain Patrol

อภิมหาไตรภาคเรื่องนี้ได้บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งฮ่องกงอย่าง Media Asia Group เป็นผู้ออกทุนสร้าง โดยเลาเผยว่าทุนสร้างกว่า 600 ล้านเหรียญฮ่องกงหรือ 77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะช่วยให้งานด้านสเปเชียลเอฟเฟ็คออกมายอดเยี่ยมยิ่งขึ้น

ในส่วนของการดัดแปลงบทนั้นได้ดำเนินการไปได้คร่าวๆ แล้ว แต่เลายังไม่อยากเปิดเผยมากนัก เนื่องจากตอนนี้กำลังมีหลายบริษัทที่มีโครงการที่จะนำซ้องกั๋งมาขึ้นจอใหญ่เหมือนกัน

ซ้องกั๋ง หรือ Water Margin เป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นปลายสมัยราชวงศ์หมิงโดย ซือนัยอัน เรื่องราวกล่าวถึง พี่น้องในกลุ่มผู้กล้า 108 คนในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าซ่งฮุยจงฮ่องเต้ที่รวมตัวกันปกป้องบ้านเมืองจากการกดขี่ของเหล่าขุนนางชั่ว โดยได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 4 สุดยอดวรรณกรรมอมตะของจีนร่วมกับ ไซอิ๋ว, สามก๊ก และ ความฝันในหอแดง

นักแสดงนำ

เหลียงเฉาเหว่ย รับบทเป็น ซ่งเจียง หรือ ซ้องกัง (Song Jiang) เจ้าของฉายา ฝนชุบชีวิต The Timely Rain หรือ The Welcome Rain ผู้นำแห่งชาวเขาเหลียงซาน เดิมเป็นปลัดอำเภอที่มีน้ำใจ กตัญญู โอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือผู้อื่นจนได้รับฉายาว่า ฝนชุบชีวิต มีวรยุทธ์ดีและมีความรู้สูง เคยช่วยเฉาไก้ (Chao Gai) ฉายาราชาสวรรค์ (Heavenly King) ซึ่งเป็นอดีตผู้นำแห่งเขาเหลียงซาน ( Mount Liang) ให้รอดพ้นจากการถูกจับ ต่อมาซ่งเจียงต้องโทษเพราะฆ่าภรรยา และถูกเนรเทศไปเจียงโจว ที่นั่นเขาถูกใส่ร้ายว่าเขียนกลอนกบฏจนต้องโทษประหาร แต่ได้เฉาไก้พาเหล่าโจรเหลียงซานมาช่วยไว้ ทำให้เขาต้องมาเป็นโจร ภายหลังเฉาไก้ตายเขาจึงได้ขึ้นเป็นผู้นำแทน ด้วยความที่เป็นคนดี จึงพยายามจะทำให้ชาวเหลียงซานได้รับการอภัยโทษและกลับเข้ามารับใช้ทางการ

หลิวเต๋อหัว รับบทเป็น หลินชง (Lin Chong)

เจ้าของฉายา จ้าวเสือดาว (Panther Head) หลินชงมีเอกลักษณ์ตรงที่มีศีรษะคล้ายเสือ คางแหลมตาโตไว้หนวดเคราเหมือนเสือดาว คนทั่วไปจึงเรียกเขาว่า จ้าวเสือดาว เขาเป็นครูฝึกทหารหลวง มีทวนเป็นอาวุธประจำกาย เนื่องจากลูกชายของหัวหน้าเกิดชอบภรรยาของหลินชง จึงได้วางแผนใส่ร้ายหลินชงจนถูกเนรเทศ และยังสั่งให้ผู้คุมลอบสังหารหลินชงซะ แต่ระหว่างทาง โชคดีได้หลู่จื้อเซินช่วยไว้ได้ทัน เลยพาหลินชงไปส่งที่ชายแดน ต่อมาหลินชงโดนลอบสังหารอีกครั้ง ทำให้เขาพลั้งมือฆ่าผู้คุมและหนีออกมาจนพบกับไฉจิ้น ไฉจิ้นจึงแนะนำให้เขาหนีไปที่เขาเหลียงซาน ตั้งแต่นั้นมาหลินชงก็ได้กลายเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ

ทาเคชิ คาเนชิโร่ รับบท อู่ซง หรือ บู๊ซ้ง ฉายาผู้กล้าพเนจร (The Priest) หรือที่เรารู้กันในชื่อว่า บู๊ซ้งผู้ฆ่าเสือด้วยมือเปล่า บู๊ซ้งเป็นตัวละครที่โด่งดังมาก กินเหล้าเก่ง กล้าหาญ รักคุณธรรม วรยุทธ์สูงส่ง และเคยมีคนมาทำเป็นบทละครงิ้วโด่งดังมาแล้วหลายตอน เช่น ตอนเมาเหล้าข้ามเขาตีเสือตาย, ตอนตั้งศาลเตี้ยฆ่าพี่สะใภ้ใจชั่ว (แล้วมอบตัวต่อศาล), ตอนหมัดเมาล้มเจียงเหมินเสิน, ตอนฆ่าล้างบางหอยวนยาง หลังจากฆ่าคนไปมากมาย บู๊ซ้งก็ได้ปลอมตัวเป็นหลวงจีนไว้ผม แล้วหนีไปอยู่กับหลู่จื้อเซินที่เขามังกรคู่ ก่อนที่จะขึ้นเขาเหลียงซานไปพร้อมๆ กัน และหลังจากนั้น บู๊ซ้งก็กลายเป็นหนึ่งในหัวหน้ากองทหารราบ

ซูฉี รับบทเป็น พานจินเหลียน พี่สะใภ้ของอู่ซงหรือบู๊ซ้ง สาวแสนสวยและเซ็กซี่ แต่จิตใจดำอำมหิต ที่ฆ่าได้แม้กระทั่งสามีตนเอง แต่ก็หลงรักในความรูปงามของบู๊ซ้ง จึงได้ยั่วยวนทุกอย่างแต่ก็ไม่เป็นผล

สีว์จิ้งเหลย มารับบทเป็น นักรบหญิงคนแรกแห่งเขาเหลียงซาน ที่ชื่อ ฮู่ซานเหนียง เธอมีวิทยายุทธ์ที่ล้ำเลิศ โดยเฉพาะการใช้ดาบคู่และเทคนิคการใช้เชือก ในการต่อสู้เมื่อครั้งซ่งเจียง (Song Jiang) โจมตีตระกูลจู้ (Zhu) นั้น ฮู่ซานเหนียงจับหวังอิง (Wang Ying) ไว้ได้ตั้งแต่แรกพบ ต่อมาฮู่ซานเหนียงถูกหลินชงจับ เธอจึงแต่งงานกับหวังอิง

กระบี่ใจพิสุทธิ์

“คนดีงามประเสิรฐเลิศล้ำ คนชั่วต่ำช้าสุดสามานย์”….บางตอนจะเห็นว่าไอ้คนที่ยกย่องกันว่าเป็นคนดีเปี่ยมคุณธรรม แท้จริงก็ดีภายนอก เลวในสันดาน ทำดีหวังผลเพื่อตัวเองกันทั้งนั้น

“ฟ้าไม่ช่วยคน ไฉนคนต้องรอความตาย” เมื่อคนพยายาม ย่อมสัมฤทธิผล จะมากน้อยอย่างไรก็มาจากมือของตน

กระบี่ใจพิสุทธิ์ ชื่อเดิมภาษาแต้จิ๋วอ่านว่า ซู้ซิมเกี่ยม แปลว่า กระบี่ใจพิสุทธิ์

เมื่อแก้ไขปรับปรุงใหม่ใช้ชื่อใหม่ จีน T. 連城訣 (เลี่ยนเจิ่งจู่, Lian Chen Queม เลี้ยงเซี่ยก้วก) S. 连城诀 อังกฤษ A Deadly Secret อีกชื่อหนึ่ง Requiem of Ling Sing

กิมย้ง เขียน กระบี่ใจพิสุทธิ์ ซู่ซิมเกี่ยม (Lian Chen Que) เป็นเรื่องที่ 10 เมื่อปี 1963 พิมพ์ใน นิตยสาร Southeast Asia Weekly ต่อจาก “มังกรหยกภาค 3” (กิมย้งเขียน มังกรหยก 3 ในปี 1961) กระบี่ใจพิสุทธิ์ เป็นเรื่องความยาวขนาดกลางที่ดีมาก

กิมย้งเขียน Requiem of Ling Sing ได้สะเทือนอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง เรื่องนี้ส่วนหนึ่งกิมย้งเขียนโดยอิงชีวิตบุคคลจริงซึ่งเป็นคนในตระกูลของเขา เป็นเรื่องราวของตัวเอก เต็กฮุ้น (Di Yun, 狄雲) ที่ถูกใส่ร้าย จนต้องถูกจองจำในคุกและถูกแย่งชิงหญิงที่ตนรักไป (เช็กฮวง, Qi Fang) ถูกทัณฑ์ทรมาน จนกลายเป็นคนพิการ แต่ยังมีวาสนาในคราเคราะห์ ได้พบพานยอดคนภายในคุก สุดท้ายหนีออกมาได้ แต่กลับถูกชาวยุทธตามล่า ด้วยเพราะคิดว่าเป็นพวกเดียวกับพรรคมาร สุดท้ายสำเร็จพลังเทพสาดส่อง และวิชาดาบมาร (“Lian Cheng Swordplay Manual”, 連城劍谱) กลายเป็นยอดคน เรื่องนี้แฝงไปด้วยปรัชญาชีวิตอันทรงคุณค่า ตำนานรักรักสองตัวละครที่ใช้ฉากหลังดอกเบญจมาศ มี่สวยงามแต่ไม่สมหวัง

เรื่องนี้แสดงถึงความเลวร้ายสารพัดอย่างของมนุษย์ อาจารย์ แกล้งบอกเคล็ดวิชาผิดๆให้ศิษย์ บิดาฆ่าบุตรีเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ตลอดจนความเลวร้ายอีกนานัปการ จอมยุทธในเรื่องนี้เมื่อมีความตายมาเยือนก็หวาดกลัวคิดเอาตัวรอด บางคนกล้าทำความชั่วเพียงเพื่อให้ตัวมีชีวิตรอด การกลัวตายเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ทุกคน กิมย้ง ชี้ให้เห็นว่า คนยิ่งสูงใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งรักตัวกลัวตายและพลัดพรากจากสิ่งที่รักมากขึ้นเท่านั้น

ไม่มีการระบุกระบี่ใจพิสุทธิ์ เกิดในยุคใด เช่นเดียวกันกับ กระยี่เย้ยยุทธจักร และ มังกรทลายฟ้า แต่คนอ่านคาดเดากันว่า คงเกิดในสมัยราชวงศ์ชิง ตอนปลาย โดยดูจาก ภาพประกอบในเล่ม และคำตามของ กิมย้งที่บอกว่า เขาเขียนเริ่องนี้ เพิ่อรำลึกถึงบ่าวของตา ที่มีชตากรรมคับแค้นคลับคล้ายชตากรรมของ ต้วเอกในเรื่องนี้ แต่นักวิจารณ์กล่าวว่า เค้าโครงเริ่องนี้คล้ายกับ เคาน์ ออฟ มองเตร์ คริสโต ที่ว่ากันว่าเป็นแรงบันดาลใจของกระบี่ใจพิสุทธ์ ต่างกันก็เพียงฉากหลัง กิมย้งไม่ได้ตอบโต้แต่อย่างใด

อย่างที่บอกนิยายเรื่องนี้น่าจะได้รับแรงบันดาลใจจาก The Count of Monte Cristo ของ Alexandre Dumas แม้เหตุการณ์จะเหมือนกัน แต่ตัวเอกของเรื่องอย่างเต็กฮุ้นนั้นเป็นหนุ่มใสซื่อ และจริงใจ แม้ผ่านเหตุการณ์มามากมายที่ร้ายๆ ความใสชื่อจะหมดไปบ้าง แต่ก็ยังคงจริงใจไปจนตลอดจบเรื่อง ต่างกับ Edmond Dantès (เอ็ดมอง ดังเต) ทีเป็นหนุ่มใสซื่อตอนต้นเรื่อง กลายเป็นเคาน์ มองเต คริสโต ที่เจ้าคิดเจ้าแค้น กระทำการทุกอย่างเพื่อการแก้แค้นเท่านั้น

นิยายเรื่องนี้มีผลกระทบต่องานเขียนยุคหลังของกิมย้งเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักร และ อุ้ยเสี่ยวป้อ แต่ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ กระบี่เย้ยยุทธจักร ที่ตัวเอกอย่างเหล่งฮู้ชงก็มีศิษย์น้องหญิง เจอเหตุการณ์ใส่ร้ายป้ายสี และถูกจองจำเหมือนกันเกือบทุกประการ แตกต่างกันที่นิสัยของเหล่งฮู้ชงนั้นเข้าใจโลกมากกว่าเต็กฮุ้น อีกทั้งกระบี่เย้ยยุทธจักรนั้นโครงเรื่องที่กว้างมากกว่ากระบี่ใจพิสุทธ์อีกด้วย แต่ถึงกระนั้นกระบี่ใจพิสุทธิ์ก็ถือเป็นต้นแบบของความสำเร็จอย่างมากของกระบี่เย้ยยุทธจักร

มีผู้แปลเป็นไทย 3 คนครับ

จำลอง พิศนาคะ แปล เมื่อ ปี พ.ศ. 2510 ตีพิมพ์โดย สพ เพลินจิตต์
พิมพ์ครั้งที่ 2 โดย สพ สร้างสรรค์ พิมพ์ปี พ.ศ. 2544

ว. ณ เมืองลุง แปล ใช้ชื่อ แต้จิ๋วว่า ซู่ซิมเกี่ยม สพ เพลินจิตต์ พิมพ์ปี พ.ศ. 2507 ยังไม่ชัดเจน ไม่เคยเห็นเลยฉบับนี้ ใครมีขอดูภาพด้วยครับ

น. นพรัตน์ แปลเมื่อปี พ.ศ. ใช้ชื่อ หลั่งเลือดมังกร
ฉบับพิมพ์ครี้งที่ 2 (ดอกหญ้า) ใช้ชื่อ กระบี่ใจพิสุทธิ์ พิมพ์โดย สพ ดอกหญ้า ปี พ.ศ. 2536 จำนวน 1 เล่มจบ ถือว่าเป็นฉบับนักสะสม
ฉบับพิมพ์ครี้งที่ 3 (ปกแดง) ใช้ชื่อ กระบี่ใจพิสุทธิ์ เช่นกัน พิมพ์โดย สพ สยามอินเตอร์คอมิกส์ ปี พ.ศ. 2544 จำนวน 1 เล่มจบ


กระบี่ใจพิสุทธิ์ ฉบับพิมพ์ครี้งที่ 2 (ดอกหญ้า)
Uploaded with ImageShack.us

การนำไปสร้างเป็นภาพยนต์โทรทัศน์

มังกรสะท้านบู๊ลิ้ม จะมีอะไรที่สะเร่อเท่าชื่อที่ตั้งเป็นไทยไม่มี ปีที่ฉาย ค.ศ. 1989
ผู้สร้าง
ดารา กัวจิ้นอัน แสดงเป็น เต็กฮุ้น
เซียะหนิง แสดงเป็น จุ้ยเซ็ง
หลี่เหม่ยเสียน แสดงเป็น เช็กฮวง

ศึกชิงบัลลังค์สะท้านภพ (จอมยุทธ์ขี้เมา) Secret of the Linked Cities ชื่อตรงกับชื่อใหม่ภาษาจีน ปีที่ฉาย ค.ศ. 2004
ผู้สร้าง NMTV (จีนแผ่นดินใหญ่)
อู๋เย่ว์ แสดงเป็น เต็กฮุ้น
ฉู่จาง แสดงเป็น จุ้ยเซ็ง
เหอเหมยเทียน แสดงเป็น เช็กฮวง

การนำไปสร้างเป็นภาพยนต์ A Deadly Secret ภาษาไทยตั้งว่า “ศึกวังไข่มุก” มันคิดชื่อได้ฟายจริงๆ
ปีที่ฉาย ค.ศ. 1980
ผู้สร้าง Shaw Brothers Studio
ดารา ไป่เปียว เยี่ยหัว

“นารีแดง” ชื่อนี้ได้แต่ใดมา


Uploaded with ImageShack.us
ตอนที่แล้วพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับสุราจีนกันพอสังเขปแล้ว ในสัปดาห์นี้ อยากจะขอแนะนำเหล้าชื่อแปลกที่ฟังแล้วชวนฉงนสนเท่ห์ถึงที่มายิ่งนัก

“นารีแดง” เป็นชื่อเหล้าเหลืองประเภทหนึ่งของจีน หลายครั้งที่เหล่าจอมยุทธในนิยายกำลังภายในมักสั่งเหล้าชื่อแปลกนี้มาซดย้อมใจ และเมื่อไม่นานมานี้ได้ข่าวว่า คณะกรรมการจัดงานโอลิมปิกได้ร่างรายการอาหารสำหรับต้อนรับนักกีฬา เจ้าหน้าที่รัฐ โดยในรายการประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น มีชื่อของเบียร์ชิงเต่า เหมาไถ และเหล้านารีแดงแห่งเส้าซิงรวมอยู่ด้วย


ออกเรือนมิอาจขาดนารีแดง
Uploaded with ImageShack.us

นารีแดง(女儿红-หนี่ว์เอ๋อร์หง) เป็นเหล้าฮวาเตียวที่ขึ้นชื่อของอำเภอเส้าซิง มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “เหล้าบุตรสาว” (女儿酒) ประกอบด้วย 6 รสชาติ ได้แก่ หวาน ฝาด เปรี้ยว ขม ร้อน และ กลมกล่อม

ในบันทึกตำราสมุนไพรแดนใต้ 《南方草木状》 สมัยราชวงศ์จิ้นได้ระบุไว้ว่า ในอดีตเมื่อคุณหนูสกุลสูงศักดิ์จะออกเรือน จะมีการนำเหล้านารีแดงเตรียมไว้ให้เจ้าสาวนำติดตัวไปด้วย

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าถึงที่มาชื่อของนารีแดงด้วยว่ามาจากในอดีต อำเภอเส้าซิง มณฑลเจ้อเจียง มีช่างตัดเสื้ออยู่ผู้หนึ่ง เขาได้แต่งภรรยาเข้าบ้าน ก็เพื่อหวังจะมีบุตรชายไว้สืบสกุล และแล้ววันหนึ่งช่างตัดเสื้อได้ทราบว่าภรรยาของตนเองนั้นตั้งครรภ์ ก็ให้รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง จัดแจงซื้อเหล้าหลายไหกลับบ้าน เตรียมไว้รอลูกชายคลอดออกมาก็จะนำเหล้าเหล่านี้ออกมาเลี้ยงญาติสนิทมิตรสหาย

แต่คาดไม่ถึง ภรรยาของเขากลับให้กำเนิดบุตรสาว ในขณะนั้นสังคมจีนให้ความสำคัญกับลูกชายมาก มองไม่เห็นความสำคัญของลูกสาว ด้วยความโมโห ช่างตัดเสื้อจึงได้นำเหล้าทั้งหมดที่ซื้อมานำไปฝังไว้ใต้ต้นดอกกุ้ยฮวา

วันเวลาล่วงเลยผ่านไป บุตรสาวเติบโตเป็นสาวเต็มตัว ทั้งยังเฉลียวฉลาด สามารถเรียนรู้ศิลปะวิชาการปักผ้าจากผู้เป็นพ่อได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แถมยังมีฝีมือการปักดอกไม้ที่วิจิตรบรรจงงดงามอีก กิจการการค้าของร้านนับวันยิ่งดีวันดีคืน


เหล้านารีแดง
Uploaded with ImageShack.us

กระทั่งช่างตัดเสื้อคิดได้ว่าการให้กำเนิดลูกสาวไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสียทีเดียว ดังนั้นจึงได้ตัดสินใจยกลูกสาวให้แต่งงานกับลูกศิษย์คนโปรดของตน และลงทุนจัดงานแต่งงานให้ลูกสาวอย่างยิ่งใหญ่ และในวันแต่งงานนั้นเอง ช่างตัดเสื้อนึกขึ้นได้ถึงเหล้าที่ฝังอยู่ใต้ต้นกุ้ยฮวาหลายสิบปี จึงได้นำเอาเหล้าออกมาให้แขกเหรื่อได้ลิ้มรส ปรากฏว่าแค่เพียงเปิดฝาไหออก กลิ่นหอมก็ขจรขจายไปทั่ว รสชาติของเหล้าที่บ่มนานนับสิบปีก็กลมกล่อมยิ่ง ดังนั้นทุกคนพร้อมใจกันเรียกเหล้าดังกล่าวว่า “นารีแดง”

หลังจากนั้นมา ไม่ว่าบ้านใดให้กำเนิดลูกสาว ก็จะนิยมนำเหล้าไปฝังดิน เมื่อลูกสาวออกเรือนก็จะขุดเอาเหล้าที่ฝังไว้ออกมาเลี้ยงแขก กลายเป็นประเพณีนิยมสืบทอดกันต่อมา

ในภายหลังแม้แต่บ้านที่ให้กำเนิดลูกชาย ก็มีประเพณีนิยมฝังเหล้าด้วยเช่นกัน ด้วยหวังว่าเมื่อบุตรชายสอบติดจอหงวนแล้ว ก็จะนำเอาเหล้าที่ฝังไว้ออกมาดื่มฉลอง และเรียกเหล้าดังกล่าวว่า “จอหงวนแดง” ด้วย

ทั้งนารีแดงและจอหงวนแดง ล้วนเป็นเหล้าเก่าที่ผ่านการเก็บบ่มมาเป็นเวลานาน รสชาติของเหล้ากลมกล่อมและเยี่ยมยอด ดังนั้นผู้คนจึงนิยมนำเหล้าประเภทนี้มาเป็นของขวัญมอบให้แก่กันนั่นเอง

แปล/เรียบเรียงโดย สุกัญญา แจ่มศุภพันธ์
ASTVผู้จัดการออนไลน์

รวยรินกลิ่นเหมาไถ-นารีแดง

ค.ศ.1915 ชาวจีนได้พาเหล้าเหมาไถ เหล่าเจี้ยว แล้วเหล้าเหลืองเส้าซิง อันเลื่องชื่อของประเทศ ไปร่วมจัดแสดงที่ปานามา แต่ด้วยรูปร่างภาชนะที่เรียบง่าย ไม่สะดุดตาสะดุดใจ ทำให้ไม่ค่อยได้รับการต้อนรับนัก แต่ในตอนนั้นเองก็มีชาวจีนหัวหมอแกล้งทำไหเหล้าตกแตก ทำให้กลิ่นหอมหวนของเหล้าจีนกำจายไปทั่วห้องจัดแสดงสินค้า ในที่สุดงานครั้งนี้เหล้าจีนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดเหล้ามาได้ถึง 4 เหรียญทองเลยทีเดียว


ภาชนะใส่เหล้าทองสัมฤทธิ์สมัยโจวตะวันตก
Uploaded with ImageShack.us

กำเนิดเมรัยมังกร

ในประวัติศาสตร์จีนมีเรื่องเล่าขานมากมายเกี่ยวกับต้นกำเนิดสุราจีน บ้างว่าจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้) บ้างว่าอี๋ตี้ เป็นผู้รังสรรค์น้ำเมานี้ขึ้นมา แต่ตำนานที่เล่าลือกันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวบ้านได้แก่เรื่อง “ตู้คังผลิตเหล้า” เล่ากันว่า ตู้คังเป็นหนุ่มเลี้ยงแพะสมัยราชวงศ์โจว (1100-771 ปีก่อนประวัติศาสตร์) วันหนึ่งระหว่างที่ต้อนแพะไปกินหญ้า เขาทำกระบอกไม้ไผ่ที่บรรจุโจ้กหล่นหาย หลังจากนั้นครึ่งเดือนเขาพบกระบอกใส่โจ้กลำนั้นอีก แต่โจ้กในกระบอกบัดนี้ได้เปลี่ยนสภาพกลายเป็นเหล้ากลิ่นหอมกำจายไปเสียแล้ว

ตู้คังรู้สึกประหลาดใจกับสิ่งที่ค้นพบเป็นอย่างยิ่ง นับจากนั้นมาเขาก็เลิกเลี้ยงแพะ หันมาเปิดโรงกลั่นเหล้าและร้านเหล้าแทน ต่อมา “ตู้คัง” ก็กลายเป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของเหล้านั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว หลักฐานของการมีอยู่ของสุรานั้นได้ปรากฏก่อนหน้าตำนานข้างต้นยาวนานนัก


ภาชนะใส่เหล้าทองสัมฤทธิ์สมัยราชวงศ์ซาง
Uploaded with ImageShack.us

เหล้าเป็นเครื่องดื่มที่เกิดจากการหมักผลไม้หรือธัญพืช เหล้าไม่เพียงแต่เป็นผลผลิตจากน้ำมือมนุษย์ แต่ตามธรรมชาติก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังเช่น หากผลไม้สุกงอมตกลงมากองรวมกัน จะเกิดกระบวนการหมักตามธรรมชาติ และเกิดเป็นเหล้าขึ้น

ตั้งแต่ยุคสังคมกสิกรรมเป็นต้นมา มนุษย์ก็รู้จักวิธีหมักผลไม้ทำเหล้าแอลกอฮอล์ต่ำแล้ว นักโบราณคดีได้มีการขุดพบเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะใส่เหล้าและผลิตเหล้ายุควัฒนธรรมต้าเวิ่นโข่วและหลงซัน (ปลายยุคหินใหม่) จำนวนไม่น้อย เป็นหลักฐานพิสูจน์ให้เห็นว่าชาวจีนนั้นสามารถผลิตเหล้าแอลกอฮอล์ต่ำได้ตั้งแต่ 5,000 ปีก่อนแล้ว

กระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ซาง (1700-1100 ปีก่อนประวัติศาสตร์) และโจว (1100-771 ปีก่อนประวัติศาสตร์) ธุรกิจผลิตเหล้ากลายเป็นธุรกิจที่เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ชาวบ้านสามารถกลั่นเหล้าดีกรีต่ำได้หลายประเภท โดย “อักษรจารบนกระดูก” (甲骨文) ของสมัยซาง ซึ่งเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีนได้ปรากฏอักษร “酒” (จิ่ว-เหล้า) แล้ว นอกจากนี้ยังค้นพบภาชนะใส่เหล้าทองสัมฤทธิ์มากมาย สะท้อนสภาพสังคมในสมัยนั้น

ชาวจีนสมัยราชวงศ์ซางนิยมดื่มเหล้า โดยเฉพาะนักปกครองในยุคหลังๆ ดื่มเหล้าถึงขั้นบ้าระห่ำเลยทีเดียว พวกเขาดื่มเหล้ากันตลอด ไม่สนใจบ้านเมือง คนยุคหลังจึงมีคำพูดว่า “ราชวงศ์ซางสิ้นเพราะสุรา”

นอกจากภาชนะใส่สุราแล้ว ยังมีการขุดพบเครื่องกลั่นเหล้า ซึ่งนับเป็นการค้นพบครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์จีน เมื่อเหล้าผ่านการกลั่น ส่วนที่เป็นน้ำจะค่อยๆ ลดลง ดีกรีของเหล้าจะเพิ่มสูงขึ้น เหล้าที่ผ่านกระบวนการกลั่นแล้วจะกลายเป็นเหล้าดีกรีสูงที่เรียกว่า “เหล้าขาว” กว่าจะมีเหล้าขาวนั้นก็ล่วงเลยเข้าสู่ยุคราชวงศ์ซ่งแล้ว (ค.ศ.960-1127)


ภาพวาดหลี่ไป๋ จิบเหล้า ชมจันทร์
Uploaded with ImageShack.us

หลากประเภทเหล้าแดนมังกร

เหล้าเหลือง (黄酒) – เป็นเหล้าที่เก่าแก่มาก มีดีกรีต่ำ ใช้ข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบ ผ่านกระบวนการย่อยสลายจนกลายเป็นน้ำตาล หมัก และคั้นน้ำ หลังจากคั้นน้ำแล้วก็ต้องเก็บไว้หลายปีจึงนำออกมาลิ้มรส สีของเหล้าเป็นสีเหลือง ดีกรีเหล้าค่อนข้างต่ำ โดยทั่วไปอยู่ที่ระดับ 10-20% เหล้าเหลืองขึ้นชื่อของจีนได้แก่ เหล้าฮวาเตียว จอหงวนแดง และเจียฟั่น ของเส้าซิง

เหล้าขาว (白酒) – เป็นเหล้าที่ถือเป็นหน้าเป็นตาของประเทศจีนก็ว่าได้ มีดีกรีที่สูงทั่วไปอยู่ที่ 40% ขึ้นไป หรืออาจสูงถึง 65% เหล้าขาวมีแป้งตะกอนเป็นวัตถุดิบ ไม่มีสี เหล้าขาวขึ้นชื่อได้แก่ เหล้าเหมาไถของกุ้ยโจว เหล่าเจี้ยว ของเสฉวน เฝินจิ่วในซันตง เป็นต้น

นอกจากเหล้าที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในประเทศจีนก็ยังมีน้ำเมาอื่นๆ อีกเช่น ไวน์ ยาดองเหล้า และเบียร์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ในประเทศจีน เหล้าสามารถพบได้ทุกที่ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในวงการเมือง เศรษฐกิจ ศิลปะ การทหาร การแพทย์ ล้วนมีเงาของเหล้าแฝงอยู่

นักเลงกลอนสมัยก่อนใช้เหล้าดึงอารมณ์ความรู้สึกออกมาถ่ายทอดเป็นบทกลอนที่ไพเราะเสนาะหู ในยุคสามก๊ก โจโฉชื่นชมการร่ำสุรา และเคยแต่งคำกลอนเกี่ยวกับสุราไว้ว่า “หาทางดับทุกข์ มีเพียงตู้คัง” (ตู้คังในที่นี้หมายถึง “สุรา”) แม้แต่กวีเอกสมัยถัง หลี่ไป๋ ก็ยังชื่นชมการดื่มสุรา ถึงขนาดมีคนกล่าวว่า ในบทกวีของหลี่ไป๋สามารถได้กลิ่นหอมหวนของเหล้า

นอกจากนี้ ไม่ว่างานมงคล งานโศกเศร้า เหล้าล้วนเข้ามามีบทบาทในสังคมจีนอย่างแนบแน่น

มีคำกล่าวว่า “พบผู้รู้ใจ พันจอกยังน้อย” เวลาที่ชาวจีนเลี้ยงอาหารนั้น เจ้าภาพมักจะรินเหล้าให้แขกเต็มจอกเต็มแก้ว เติมเต็มแล้วเต็มอีก เพื่อเป็นเชิงให้แขกดื่มมากๆ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเหล้าจะอยู่คู่สังคมจีน รวมทั้งสังคมไทยมานานแล้วก็ตาม แต่ก็มิอาจปฏิเสธความจริงได้ว่า เหล้าเป็นเครื่องดื่มให้โทษ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ยิ่งหากดื่มจนเมามาย อาจเป็นโทษแก่ชีวิตตนเองและผู้อื่นได้ แม้แต่โกวเล้ง นักเขียนนิยายกำลังภายในชื่อดัง ผู้ได้สมญาว่า “ปีศาจสุรา” ยังเคยเขียนไว้ว่า “สุราไม่อาจคลี่คลายความคับแค้นของผู้ใดได้ แต่สามารถดลบันดาลให้ท่านหลอกตัวเองได้”…..ทางที่ดีเลี่ยงได้เป็นดี

เรียบเรียงโดย สุกัญญา แจ่มศุภพันธ์
ASTVผู้จัดการออนไลน์

กระบี่นางพญา รวมเรื่องสั้นของกิมย้ง

กระบี่นางพญา รวมเรื่องสั้นของกิมย้ง
ผู้แต่ง: กิมย้ง
ผู้แปล: น. นพรัตน์
จำนวน: 1 เล่มจบ
สพ.: ดอกหญ้า
พิมพ์: ปี พ.ศ. 2537
ฉบับดอกหญ้านี้ เป็นหนังสือที่นำเอาเรื่องสั้นกำลังภายในสามเรื่องของกิมย้ง
อันประกอบไปด้วย

กระบี่นางพญา
เทพธิดาม้าขาว
ดาบนกเป็ดน้ำ หรือ อวงเอียตอ

มารวมพิมพ์ไว้ในเล่มเดียวกัน

คำนำสำนักพิมพ์

รวมเรื่องสั้น กระบี่นางพญา คือความต่างและหลากหลาย ความต่างคือการเป็นเรื่องสั้น ผลงานของกิมย้ง ที่นำเสนอผ่านมาเป็นรูปแบบนวนิยายเรื่องยาวทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็เป็นความต่างที่เท่าเทียม ด้วยอารมณ์เรื่องสั้นอาจเข้มพอกับนวนิยาย โดยธรรมชาติของเรื่องสั้นเองและโดยศิลปะการเขียนของผู้ประพันธ์เช่นกิมย้ง ส่วนความหลากหลายนั้น เรื่องสั้นทั้ง 3 เรื่อง ที่ต่างท่วงทำนอง เช่น เทพธิดาม้าขาว ตัวเอกเป็นตัวละครที่อ่อนไหว ละเอียดอ่อน พาสีสันของเรื่องไปในโทนนี้ด้วย ส่วนเรื่อง ดาบอวงเอียตอ ก็มีสำเนียงล้อเลียน กรุ่นด้วยเสียงหัวเราะหยัน ในขณะที่ กระบี่นางพญา กลับหนักแน่นจริงจัง ครั้งนี้คือสุนทรีย์ของความต่างและหลากหลายที่คุณจะได้สัมผัส

เรื่องย่อ

กระบี่นางพญา หรือ กระบี่วีระสตรี
ด้วยความรับผิดชอบต่อภารกิจอันยิ่งใหญ่ เขายอมเสียสละหญิงคนรัก ถ้าหากหญิงนางนั้นคือ ไซซี ผู้งามเลิศพบจบแดนล่ะ ความรับผิดชอบนี้จะสูงส่งเพียงใด?
เรื่องนี้มีพิมพ์แถมใน เพ็กฮ้วยเกี่ยม ฉบับ สยามสปอร์ตพริ้นติ้ง พิมพ์ปี พ.ศ. 2536
จำนวน 14 เล่มจบ อยู่ที่ตอนท้ายของเล่ม 14

ดาบอวงเอียตอ
ล้อเลียนความไร้สาระของผู้คน ซึ่งค้นหา แย่งชิงความลับยิ่งใหญ่ ที่จะส่งให้ผู้นั้นเลิศเลอไร้เทียมทาน ความลับนั้นคืออะไร เหตุใดพฤติกรรมเหล่านั้นจึงไร้สาระถึงเพียงนี้
เรื่องนี้มีพิมพ์แถมใน มังกรทลายฟ้า ฉบับ สยามสปอร์ตพริ้นติ้ง พิมพ์ปี 2632 จำนวน 4 เล่มจบ อยู่ที่ตอนท้ายของเล่ม 4

เทพธิดาม้าขาว
นางกระดิ่งฟ้า นกที่เสียงไพเราะปานกระดิ่งเงินจากฟากฟ้า ตำนานมีว่า นี่้เป็นการแปลงร่างจากหญิงสาวที่สวยงามที่สุด หลังจากที่นางหามีชีวิตไม่ เพราะคนที่นางรักไม่รักตอบจึงตรอมใจตาย ” เทพธิดาม้าขาว ” สตรีสะคราญโฉมผู้หลงใหลเสียง นางกระดิ่งฟ้า ผู้อยู่ในวังวนความรู้สึกละไมแห่งรักดุจเดียวกับนางในตำนานนางนั้น เช่นนี้แล้ววิถีนางจะเป็นเช่นไร
เรื่องนี้มีพิมพ์เป็นเล่มแยกต่างหากด้วยใช้ชื่อเดียวกัน เทพธิดาม้าขาว ฉบับ สพ สยามสปอร์ตพับลิชชิ่ง จำนวน 1 เล่มจบ พิมพ์ปี พ.ศ. 2533
ท่าน จำลอง พิศนาคะ แปลเรื่องด้วย ใช้ชื่อ นางพญาม้าขาว พิมพ์โดย สพ สร้างสรรค์บุ้คส์ ปี พ.ศ. 2545
ยังหาซื้อได้ที่ เว็บไซท์ ของ สพ.

ดังนั้นแม้ควานหา กระบี่นางพญา ฉบับ ดอกหญ้า ที่มี เรื่องสั้นสามเรื่องนี้ครบไม่ได้ ท่านก็สามารถหาอ่านในฉบับแถม และ ฉบับพิมพ์แยกได้ แต่ก็ไม่ใช่หาได้ง่ายๆ เช่นกัน

ชมคลิป เรื่อง กระบี่นางพญา จะเห็น ฉาก ไซซี กุมอกด้วย

เนี่ยอู้เซ็ง นักกระบี่นิยายกำลังภายใน ลายุทธภพ

โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 30 มกราคม 2552 10:34 น.

หากเปรียบ “สามทหารเสือ” ดั่งขุนพลแห่งตำนานวรรณกรรมฝรั่งเศสของโลกตะวันตกแล้ว โลกตะวันออกก็มี “สามนักกระบี่” เป็นขุนพลผู้สร้างตำนานนิยายกำลังภายใน คือ เนี่ยอู้เซ็ง, กิมย้ง, และโกวเล้ง และ ณ บัดนี้ โลกวรรณกรรมนิยายกำลังภายใน ก็ได้สูญเสียนักกระบี่ไปอีกคน คือ เนี่ยอู้เซ็ง หลังจากที่ได้สูญเสีย นักกระบี่โกวเล้งไปเมื่อ 24 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2528) เหลือเพียงนักกระบี่ท่านเดียวที่ยังมีชีวิตคือ ท่านปู่ กิมย้ง วัย 84 ปี

เนี่ยอู้เซ็ง หรือในเสียงอ่านภาษาจีนกลาง เหลียง อี่ว์เซิง(梁羽生) นักกระบี่ผู้รังสรรค์นิยายกำลังภายในรุ่นบุกเบิกแห่งฮ่องกง ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่ผ่านมา ด้วยวัย 85 ปี เนื่องจากโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะและอัมพฤกษ์ที่โรงพยาบาลในนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

สำหรับผลงานที่โดดเด่นของนักกระบี่ท่านนี้ ได้แก่ นางพญาผมขาว (白发魔女), เจ็ดนักกระบี่แห่งเทียนซาน (七剑下天山), รอยแหนเงาจอมยุทธ์ (萍踪侠影录), หยุนไห่อี้ว์กงหยวน(云海玉弓缘)เป็นต้น

งานของเนี่ยอู้เซ็ง ที่มีฉบับแปลพากษ์ไทยเกือบ 10 เรื่อง ส่วนใหญ่แปลโดย จำลอง พิศนาคะได้แก่ แม่เสือขาว (พิมพ์ใหม่เปลี่ยนชื่อเป็น นางพญาผมขาว), เจ็ดนักกระบี่ (แห่งเทียนซาน), สามกระบี่สาว, มังกรมรกต, จ้าวแผ่นดิน, จอมยุทธ์สัญจรแห่งราชวงศ์ถัง เป็นต้น สำหรับ น. นพรัตน์ ก็ได้จับงานชิ้นเยี่ยมของเนี่ย อู้เซ็งมาแปล ได้แก่ รอยแหนเงาจอมยุทธ์ (ฉบับแปลครั้งแรกใช้ชื่อ กระบี่กู้บัลลังก์), นางพญาผมขาว สิงห์นิยายกำลังภายในชาวไทยกล่าวว่าสุดยอดนิยายกำลังภายในอีกเรื่องของเนี่ยอู้เซ็ง ที่ยังไม่มีผู้แปลฉบับพากษ์ไทยคือ หยุนไห่อี้ว์กงหยวน

งานเขียนของ เนี่ยอู้เซ็ง ครองใจนักอ่านทุกระดับชนชั้น หากเทียบกับงานเขียนของกิมย้งแล้ว ผลงานของ เนี่ยอู้เซ็ง จะมีพื้นฐานของโคลงกลอน นิยาย และประวัติศาสตร์จีนที่ลึกซึ้งมากกว่า นิยายกำลังภายในของเนี่ย อู้เซ็ง ทุกเรื่อง ได้รับการแปลเป็นพากษ์ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นๆ

นิยายกำลังภายในภายใต้นามปากกา เนี่ยอู้เซ็ง เรื่องแรก เผยแพร่สู่บรรณพิภพเมื่อปี พ.ศ. 2497 (1954) จนถึงปี 2527 (1984) เนี่ย อู้เซ็ง มีผลงานฝากไว้ในบรรณภพตลอด 30 ปีนี้ รวมทั้งสิ้น 35 เรื่องด้วยกัน สร้างตัวละครมากกว่าร้อยตัว และได้รับการยกย่องสร้างสรรค์ตัวละครหญิงได้ดีที่สุดในเรื่องนางพญาผมขาว สำหรับผลงานชิ้นสุดท้าย คือ เรื่อง เฟิงเตา (封刀)หลังจากนั้นก็ล้างมือในอ่างทองคำ หันไปทุ่มเทเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์

สำหรับแนวคิด เกี่ยวกับ อู่เสีย (武侠) ของเนี่ย อู้เซ็ง คือ “อู่” ซึ่งหมายถึงการต่อสู้นั้นเป็นวิธีการ และ “เสีย” ซึ่งหมายถึงคุณธรรม ความกล้าหาญนั้น คือ เป้าหมายที่แท้จริง ดังนั้น เนี่ย อู้เซ็งจึงยึดถือหลักการ “ใช้คุณธรรมเพื่อหยุดการต่อสู้” เป็นแนวคิดพื้นฐานในการสร้างสรรค์งานเขียนกำลังภายใน

เหลียง อี่ว์เซิง 梁羽生 เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2467 (1924) มีชื่อเดิม คือ ตั้ง บุ้นทง หรือในเสียงอ่านจีนกลางคือ เฉิน เหวินถ่ง (陈文统) บ้านเกิดอยู่ที่อำเภอเหมิงซานของดินแดนชนชาติจ้วงในเขตปกครองตัวเองกว่างซี หรือกวางสี เป็นครอบครัวบัณฑิตที่มีชื่อเสียงและมีฐานะดี เนี่ย อู้เซ็ง เติบโตท่ามกลางธรรมชาติภูเขาสวยงาม ทั้งยังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์มากมายจากผู้ทรงความรู้ที่อพยพมาจากนครกวางเจา ซึ่งสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เอื้ออำนวยแก่การอ่านหนังสือ เขียนบทกวี

เนี่ยอู้เซ็ง หลงใหลการอ่านนิยายกำลังภายในชนิดลืมกินลืมนอน กระทั่งเติบใหญ่เข้าสู่สังคม ก็ยังรักการอ่านและวิจารณ์นิยายกำลังภายใน กอปรด้วยความรู้มหาศาลด้านประวัติศาสตร์วรรณกรรม ภูมิหลังเหล่านี้เอง ได้สร้างรากฐานอันแข็งแกร่งในการสร้างสรรค์นิยายกำลังภายในแก่จอมยุทธ์นักเขียนท่านนี้

หลังสงครามต่อต้านญี่ปุ่นสิ้นสุดลง เนี่ยอู้เซ็ง เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเนี่ยน้ำ (岭南大学) นครกวางเจา สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ หลังจบการศึกษา ด้วยจิตใจรักด้านประวัติศาสตร์, วรรณกรรม และโคลงกลอนกวีโบราณ จึงได้เข้าทำงานที่หนังสือพิมพ์ “ต้ากงเป้า” ของฮ่องกง ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่หนุนลัทธิการเมืองฝ่ายซ้าย ในปีพ.ศ. 2492 (1949) ก็ได้สิทธิพำนักถาวรในฮ่องกง ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่นครซิดนีย์

เนี่ยอู้เซ็ง มีนามปากกาหลายชื่อ เช่น เหลียง ฮุ่ยหรู , เฝิง อวี๋หนิง (*เสียงอ่านจีนกลาง)เป็นต้น โดยมีผลงานเขียนทั้งปกิณกะ บทวิจารณ์วรรณกรรม และบันทึกประวัติศาสตร์วรรณกรรม นอกจากนี้ยังเคยเขียนบทวิจารณ์หมากรุกจีน ภายใต้นามปากกา “เฉินหลู่” (*เสียงอ่านจีนกลาง) ซึ่งงานเขียนวิจารณ์หมากรุกจีนที่มีอรรถรส อ่านแล้วตื่นเต้นยิ่งกว่าลุ้นเชียร์ที่ขอบสนามเสียอีก

เนี่ยอู้เซ็ง ป่วยเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ และได้ปรากฏตัวต่อสาธารณชนครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2549 ในงานเลี้ยงที่ฮ่องกงและเป็นลมกลางงาน หลังจากนั้นก็ได้พักรักษาสุขภาพ ที่โรงพยาบาลนครซิดนีย์ จนกระทั่งเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่ผ่านมา ด้วยวัย 85 ปี

น. นพรัตน์ เล่าชีวิต นักกระบี่ เนี่ยอู้เซ็ง

ในวาระการสูญเสีย “นักกระบี่” แห่งโลกนิยายกำลังภายในนี้ “มุมจีน” ได้สัมภาษณ์นักแปลนิยายกำลังภายในมือฉมัง คุณ น. นพรัตน์ เกี่ยวกับชีวิต และความโดดเด่นของงานเนี่ยอู้เซ็ง

คุณ น. นพรัตน์ เล่าถึง “เนี่ยอู้เซ็ง เป็นศิษย์พี่ของ กิมย้ง สำหรับคำ อู้เซ็ง นี้ มีความหมายถึง “ศิษย์ของแป๊ะอู้” แป๊ะอู้ หรือในเสียงอ่านจีนกลางคือ ไป๋อี่ว์(白羽 )เป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในที่มีชื่อเสียงในยุคสาธารณรัฐจีน (1930-1940) เนี่ย อู้เซ็งเสื่อมใสงานของเขามาก จึงตั้งชื่อนามปากกาคารวะ แป๊ะ อู้ เป็นครู เช่นนี้

เนี่ยอู้เซ็ง จัดเป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในรุ่นบุกเบิก โดยรุ่นก่อนหน้านั้น เรียกเป็นนิยายกำลังภายในรุ่นเก่าในยุคสาธารณรัฐ นิยายกำลังภายในห่างหายไปจากชีวิตผู้คนทั่วไปเป็นเวลานานนับจากช่วงปลายยุคสาธารณรัฐจีน ต่อเนื่องมาถึงยุคสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งห้ามการเสพนิยายกำลังภายใน กระทั่งเนี่ยอู้เซ็ง และกิมย้งได้บุกเบิกนิยายกำลังภายใน จนเป็นที่นิยมทั่วดินแดนจีน ทั้งในฮ่องกง ไต้หวัน ถึงดินแดนที่มีชาวจีนโพ้นทะเลหนาแน่น เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น

ก่อนที่นิยายกำลังภายในเรื่องแรกของ เนี่ยอู้เซ็ง ถือกำเนิดในบรรณพิภพเมื่อปีพ.ศ. 2497 จ้าวสำนักวรยุทธ์ 2 สำนักในฮ่องกง คือ สำนักไท้เก๊ก และสำนักนกกระเรียนขาว เปิดศึกวิวาทะกัน และได้เริ่มโจมตีกันบนหน้าหนังสือพิมพ์ จากนั้นก็เปิดเวทีประลองยุทธ์แลกหมัดกันตัวต่อตัวที่เวทีเลยไถในมาเก๊า เป็นที่โจษจันฮือฮาทั้งในมาเก๊า และฮ่องกง กระทั่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ซิงมึ่งป่อ (ซินหวั่นเป้า) เกิดความคิดและได้ชวน ตั้ง บุ้นทง เขียนนิยายกำลังภายในโดยใช้เหตุการณ์ประลองยุทธ์นี้ เป็นฉากหลัง เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่าน และในวันที่สามของการประลอง นิยายกำลังภายใน เรื่อง “มังกรถล่มพยัคฆ์เมืองหลวง” (龙虎斗京华)ประพันธ์โดย เนี่ยอู้เซ็ง ก็ได้ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ซิงมึ่งป่อ นิยายกำลังภายในเรื่องแรกของ เนี่ยอู้เซ็ง นี้เอง ได้เปิดยุคนิยายกำลังภายในรุ่นบุกเบิก

ในปีถัดมา 2498 กิมย้ง ก็ได้ประเดิมนิยายกำลังภายในเรื่องแรกของเขาใน ซิงมึ่งป่อ เช่นกัน คือเรื่อง ตำนานอักษรกระบี่ 书剑恩仇录 ฉบับพากษ์ไทยโดย น. นพรัตน์ (ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ ในชื่อ จอมใจจอมยุทธ์)จากนั้น เนี่ยอู้เซ็ง และกิมย้ง ก็ได้กลายเป็นดาวจรัสแสงผู้สร้างโลกนิยายกำลังภายในรุ่นบุกเบิก โดยมีโกวเล้งร่วมสร้างสรรค์สุดยอดเพลงกระบี่นิยายกำลังในอยู่ในไต้หวัน

สำหรับงานเขียนนิยายของ เนี่ยอู้เซ็ง ใช้ภาษาแบบแผน กระชับ มีจุดเด่นในการสร้างตัวละครโดยเฉพาะตัวละครหญิง เน้นศิลปะวรรณคดี เจ้าบทเจ้ากลอน มีผู้เปรียบงานของเนี่ย อู้เซ็ง เหมือนน้ำธรรมดาทั่วไป แต่เป็นน้ำบริสุทธิ์ที่ทุกคนขาดมิได้ สารัตถะในงานของเนี่ย อู้เซ็ง มุ่งแสดงความเป็นวีรบุรุษ ความรักชาติ ขณะที่เนื้อหานิยายของกิมย้ง เน้นไปที่ อธรรม

นอกจากนี้ เราสามารถสัมผัสบุคลิกของเนี่ยอู้เซ็งได้จากตัวละครเอกคือ เตี่ยตังปัง ใน “รอยแหนเงาจอมยุทธ์” ซึ่งสะท้อนบุคลิกของเนี่ย อู้เซ็งมากที่สุด อีกเรื่องที่จัดเป็นงานชิ้นเยี่ยม ซึ่งสร้างผู้ร้ายเป็นตัวเอกได้ดี คือ หยุนไห่อี้ว์กงหยวน

คุณ น. นพรัตน์ กล่าวอย่างอาลัยว่า

“การเสียชีวิตของเนี่ยอู้เซ็ง เสมือนการสูญเสียหยกที่ใสบริสุทธิ์ล้ำค่าเม็ดหนึ่งของจีน”

แดงทั่วธาร

ในบรรดาแม่ทัพจีน ที่มีชื่อเสียงมากสุดคนหนึ่งคือ งักฮุย (จีนกลางเรียก เยว่เฟย) นอกจากฝีมือในการรบ และความรักชาติแล้ว แม่ทัพชาวไต้ซ้องผู้นี้ยังเป็นนักกวี เขาเขียนไว้หลายบท ที่โด่งดัง ประทับใจ คือบทลำนำขับทำนอง (ฉือ) ที่ชื่อว่า “แดงทั่วธาร” หรือ หม่านเจียงหง บทนี้

滿江紅

怒髮衝冠,

憑欄處,瀟瀟雨歇。

抬望眼,仰天長嘯,

壯懷激烈。

三十功名塵與土,

八千里路雲和月。

莫等閒 白了少年頭,空悲切。

靖康恥,猶未雪;

臣子恨,何時滅?

駕長車踏破 賀蘭山缺!

壯志飢餐胡虜肉,

笑談渴飲匈奴血。

待從頭收拾舊山河,

朝天闕。


ก่อนจะออกจากบ้านไปรับใช้ชาติ มารดาของงักฮุยได้สลักอักษรจีน 4 ตัวไว้ที่กลางแผ่นหลังของบุตรชาย นั่นคือ”จิ้นจงเป้ากั๋ว” หรือ “รู้รักภักดี พลีชีพเพื่อชาติ”

เยว่เฟย (Yue fei: งักฮุย) (ค.ศ. 1103-1142)
เครดิต: Linmou
ขุนพลผู้ต่อต้านกองทัพจิน (บรรพบุรุษของชาวแมนจู) ชื่อดังแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ (หนานซ่ง) เป็นวีรบุรุษที่เป็นสามัญชน ชื่อรองเผิงจวี่ (นกเผิงทะยาน) เป็นคนทังอิน เซียงโจว (จังหวัดเซียง) เหอเป่ยเขตตะวันตก (เหอเป่ยซีลู่) ปัจจุบันอยู่ในเขตมณฑลเหอหนาน เป็นชาวนาโดยกำเนิด เคยเป็นผู้เช่าที่นาทำกิน ปีที่ 4 ของศักราชเซวียนเหอแห่งรัชกาลพระเจ้าซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1122) เข้าเป็นทหาร ร่วมในกองทัพต่อต้านประเทศเหลียว (ชาวชี่ตาน)

ปีที่ 1 ของศักราชจิ้งคังแห่งรัชกาลพระเจ้าซ่งชินจง (ค.ศ. 1126) กองทัพจินบุกลงใต้ ตีเมืองหลวงตะวันออก (ตงจิง) คายเฟิงฟู่แตก (จังหวัดคายเฟิง ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน) คังหวาง (คังอ๋อง) เจ้าโก้วรวบรวมกำลังพลที่เซียงโจว (จังหวัดเซียง ปัจจุบันอยู่ในอานหยางซื่อ หรือจังหวัดอานหยาง มณฑลเหอหนาน) เพื่อรุดไปช่วยเหลือ เยว่เฟยอาสาเข้าร่วมในกองทัพเพื่อต่อต้านกองทัพจิน

ปีที่ 2 ศักราชจิ้งคัง(ค.ศ. 1127) ราชวงศ์ซ่งเหนือ (เป่ยซ่ง) ล่มสลาย คังหวางเจ้าโก้วขึ้นครองราชย์เป็นปฐมฮ่องเต้แห่งราชวงศ์หนานซ่ง(ซ่งใต้) ที่เมืองหลวงทางใต้ (หนานจิง) อิ้งเทียนฝู่ (จังหวัดอิ้งเทียน) (ปัจจุบันอยู่ในเขตซางชิว มณฑลเหอหนาน) นามว่า ซ่งกาวจง ตั้งชื่อปีศักราชว่า เจี้ยนเหยียน (ปีที่ 1 ศักราชเจี้ยนเหยียน คือ ค.ศ. 1127) เยว่เฟยพยายามถวายฎีกาตำหนิหวงเฉี่ยนซ่านและวางป๋อเยี่ยนเรื่องยุทธการหนี และเสนอให้ยกทัพขึ้นเหนือตีชิงคายเฟิงและดินแดนที่ถูกแย่งไปคืนมา จึงถูกซ่งกาวจงริบตำแหน่งทางการทหาร ภายหลังติดตามกองทัพจางสั่ว หวางเยี่ยน จงเจ๋อออกรบต่อต้านกองทัพจินจนได้สร้างความดีความชอบหลายครั้ง จนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นขุนนางทหาร

ปีที่ 3 ศักราชเจี้ยนเหยียน (ค.ศ. 1129) หลังจากที่กองทัพใหญ่ของจินบุกลงใต้ เยว่เฟยอาศัยกองกำลังทหารจำนวนน้อยตีกองทัพจินจนพ่ายแพ้หลายครั้ง และค่อยๆ กลายเป็นหนึ่งในยอดแม่ทัพคนสำคัญแห่งกองทัพซ่ง

ปีที่ 4 ศักราชส้าวซิงแห่งรัชกาลซ่งกาวจง (ค.ศ.1134) เดือน 5 ซ่งกาวจงรับข้อเสนอของเยว่เฟย ส่งกองทัพเยว่เฟยไปตีเหว่ยฉี (แคว้นฉีเทียม ตั้งขึ้นในปีที่ 4 ศักราชเจี้ยนเหยียน เมื่อกองทัพจินยึดคายเฟิงได้ ก็ได้ตั้งหลิวอวี้ อดีตจือฝู่ (คล้ายผู้ว่าฯ) ของจี่หนานฝู่เป็นฮ่องเต้ปกครอง ตั้งชื่อว่าแคว้นฉี ในประวัติศาสตร์เรียก เหว่ยฉี) ภายในสองสามเดือน เยว่เฟยทยอยตีเซียงหยางฝู่ (จังหวัดเซียงหยาง) ซิ่นหยางจวิน ถังโจว เติ้งโจว อิ่งโจว สุยโจว (โจวคือจังหวัดเช่นเดียวกัน) กลับมาได้ นี่เป็นครั้งแรกในการรบในเขตจงเหยวียน (บริเวณตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำฮวงโหรวมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑลหูหนาน พื้นที่ทางตะวันตกของมณฑลซานตง และพื้นที่ทางตอนใต้ของมณฑลเหอเป่ยและมณฑลซานซี)ที่กองทัพซ่งเป็นผู้เริ่มต้นบุก ถึงแม้เนื่องจากอุปสรรคจากพวกขุนนางในส่วนกลางทำให้ไม่สามารถขึ้นเหนือสืบต่อไป แต่ก็ถือว่าได้รับชัยชนะอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต เยว่เฟยจึงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นขุนพลชิงเหยวี่ยนจวิน (น่าจะแปลว่าแม่ทัพพิชิตไกล) และตำแหน่งแม่ทัพอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ และได้ชื่อร่วมกับจางจวิ้น หานซื่อจง หลิวกวงซื่อว่าเป็นสี่สุดยอดแม่ทัพคนดังแห่งต้นราชวงศ์หนานซ่ง

กองทัพเยว่เฟยห้าวหาญการศึก ระเบีบยวินัยเข้มงวด ได้รับความรักใคร่นับถือและสนับสนุนจากประชาชนเป็นอันมาก ได้รับการเรียกขานว่า เยว่เจียจวิน (น่าจะแปลว่าท่านแม่ทัพเยว่ คำ “เจีย” แสดงถึงความรักใคร่และการให้ความสนิทสนมที่ประชาชนมีต่อท่าน)

ปีที่ 4 ศักราชส้าวซิง แคว้นเหว่ยฉีร่วมมือกับกองทัพจินบุกซ่ง ถูกกองทัพซ่งตีพ่าย ต้นปีที่ 6 ศักราชส้าวซิง(ค.ศ. 1136) เยว่เฟยร่วมกับหานซื่อจงและจางจวิ้นบุกเหนือ เยว่เฟยได้ตีชิงฉางสุ่ยเซี่ยน (อำเภอฉางสุ่ย) อำเภอฮู่ซื่อ (ฮู่ซื่อเซี่ยน) และได้บุกไปถึงในเขตช่ายโจว (จังหวัดช่าย ทุกที่ที่กล่าวมา ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนานทั้งหมด) ประชาชนแถบเลียบลุ่มแม่น้ำฮวงโหให้สนับสนุนด้านต่างๆ (เช่นเสบียงกรัง) แก่กองทัพเยว่เฟยอย่างกระตือรือร้น การเดินทัพเป็นไปอย่างราบรื่น แต่เนื่องจากบรรดาขุนนางในราชสำนักเกิดการขัดแย้งกัน ขุนนางฝ่ายยอมสวามิภักดิ์ (ยอมแพ้) ลูกเดียวกุมอำนาจ เยว่เฟยจึงถูกเรียกตัวกลับเอ้อโจว (ปัจจุบันอยู่ในอำเภออู่ชาง จังหวัดอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย) การบุกเหนือจึงถูกเลิกล้มลงกลางครัน

เวลานั้น จากการสงครามที่เกิดติดต่อกันหลายปี กองทัพจินและเหว่ยฉีถูกตัดทอนลงอย่างมาก สภาพการณ์เปลี่ยนเป็นอำนวยต่อหนานซ่ง แต่ซ่งกาวจงมิเพียงไม่ฟังคำกราบทูลของเยว่เฟยที่ให้ฉวยโอกาสบุกเหนือ กลับไปเชื่อตามแผนการของฉินฮุ่ยขุนนางกังฉินที่เป็นไส้ศึก และดำเนินการขอยอมสวามิภักดิ์ต่อไปอย่างแข็งขัน

ราชสำนักจินเห็นว่าการใช้กองทัพไม่อาจปราบหนานซ่งลงได้ จึงเปลี่ยนแผนโดย ในปีที่ 7 ศักราชส้าวซิง (ค.ศ. 1137) ได้ยกเลิกแคว้นเหว่ยฉี แสดงความหมายยินยอมยกดินแดนเหว่ยฉีคืนให้แก่หนานซ่ง แต่ฮ่องเต้หนานซ่งต้องเรียกตัวเองว่าเป็นขุนนางของราชสำนักจินและต้องส่งเครื่องบรรณาการทุกปี กับเรื่องนี้ ราษฎรของหนานซ่งคัดค้านอย่างรุนแรง ซ่งกาวจงกลับยินดีจนออกนอกหน้า ยอมรับทุกเงื่อนไขอย่างเต็มปากเต็มปากเต็มคำ

ต้นปีที่ 9 ศักราชส้าวซิง (ค.ศ.1139) ฉินฮุ่ย (ฉินข้วย/ชีนไคว่) เป็นตัวแทนซ่งกาวจงรับราชโองการของฮ่องเต้จิน เจรจาสงบศึก ราชสำนักจินคืนส่านซี เหอหนานแก่ราชสำนักซ่ง คืนโลงศพซ่งฮุยจงกลับมา ฮ่องเต้ซ่งยอมลดตนลงเป็นขุนนางของราชสำนักจิน แต่ละปีต้องมอบเครื่องบรรณาการเป็นเงินสองแสนห้าหมื่นตำลึง ผ้าสองแสนห้าหมื่นพับ

ภายใต้สภาพการณ์ที่มีเปรียบในด้านการรบแย่งตินแดนคืนกลับมาเซ็นสัญญาขอเจรจาสงบศึกโดยมีเงื่อนไขที่น่าอัปยศเช่นนี้ บรรดาประชาชนที่รักชาติต่างพากันเป็นเดือดเป็นแค้นอย่างยิ่ง ซ่งกาวจงและฉินฮุ่ยกลับจัดงานฉลองกันเป็นการใหญ่ เยว่เฟยถวายฎีกาคัดค้านเรื่องนี้อย่างถึงที่สุด เสนอเรื่องบุกขึ้นเหนืออีกครั้ง จึงได้สร้างความขัดแย้งระหว่างตัวเขากับพรรคยอมสวามิภักดิ์ให้ลึกล้ำยิ่งขึ้น และทำให้ฉินฮุ่ยแค้นเขามากขึ้น

ปีที่ 9 ศักราชส้าวซิง (ค.ศ. 1139) ราชสำนักจินเกิดสงครามแย่งอำนาจกัน จอมพลหวานเหยียนจงปี้หรือจินอู้ซู่ผู้ต่อต้านการเจรจาสงบศึกกับราชสำนักซ่งได้กุมอำนาจ จึงตกลงใจจะบุกลงใต้อีกครั้ง

ปีที่10 ศักราชส้าวซิง (ค.ศ. 1140) ต้นเดือน 5 อู้ซู่ (หวานเหยียนจงปี้) นำทัพจินแบ่งเป็นสี่ทางบุกซ่ง เขตสนามรบอยู่บริเวณจากตอนใต้แม่น้ำหวยเหอไปจนถึงมณฑลส่านซี คายเฟิง ลั่วหยาง เสินโจว และหลายพื้นที่ในส่านซีทยอยตกเป็นของราชสำนักจินอีกครั้ง ต้นเดือน 6 อู้ซู่นำทัพเดินเท้าและทัพม้าหนึ่งแสนนายบุกซุ่นชาง (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลอานฮุย) แม่ทัพซ่ง หลิวฉี นำทัพไม่ถึงสองหมื่นนาย ฉวยโอกาสที่ทัพจินเพิ่งมาถึง ซึ่งต่างก็ยังอ่อนเพลียจากการเดินทาง บุกเข้าโจกตีอย่างกะทันหันโดยใช้วิธีรบประชิดตัว ตีกองทัพจินแตกพ่ายยับเยิน กองทัพจินถอยกลับคายเฟิง ‘การศึกที่ซุ่นชาง’ นี้ ได้ทำลายขวัญทหารจินเป็นอย่างมาก

ในขณะเดียวกัน แม่ทัพซ่ง หานซื่อจงยกทัพบุกขึ้นเหนือ ตีชิงห่ายโจว (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเจียงซู) กลับคืนมา ในขณะที่กองทัพจินบุกซุ่นชาง ส่านซี เยว่เฟยได้รับคำสั่งให้ยกทัพไปหนุนซุ่นชางและรุกเข้าจงเหยวียน หลังการศึกที่ซุ่นชาง กองทัพเยว่เฟยขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ สู่หูเป่ยไปถึงเหอหนาน ได้รับความร่วมมือจากกองทัพกู้ชาติในพื้นที่ต่างๆ มาโดยตลอดจนทำให้กองทัพเกรียงไกรอย่างยิ่ง และได้ทยอยตีชิงอิ่งชาง เฉินโจว เจิ้งโจว ลั่วหยางกลับคืนมา

ปีที่ 10 ศักราชส้าวซิง (ค.ศ. 1140) เดือน 7 อู้ซู่นำทัพจินในชุดเกราะเต็มอัตราศึกบุกศูนย์กลางกองบัญชาการทัพของเยว่เฟยที่เมืองเหยี่ยนอย่างกะทันหัน เยว่เฟยส่งทัพเดินเท้าและทัพม้าออกรับศึก บรรดาทหารหาญมือถือมีดและขวานบุกตะลุยสังหารอย่างห้าวหาญ มีแต่รุก ไม่มีถอย บุกตะลุยจนถึงมืด เข่นฆ่าสังหารยุทธการไร้พ่ายของอู้ซู่จนแตกพ่ายยับเยิน วันถัดมา เยว่เฟยนำทัพบุกไปถึงค่ายทหารจินด้วยตนเอง ทหารจินทอดซากตายไปทั่วพื้นที่ แตกกระเจิงถอยไปสิบกว่าหลี่ อู้ซู่ถึงกับถอนใจอย่างละอายว่า “คลอนภูผาง่าย คลอนเยว่เจียจวินยาก!” แล้วออกคำสั่งให้พวกคนแก่และเด็กที่ติดตามมากับกองทัพถอยกลับคายเฟิง


ใครก็ตามที่ได้รับรู้เรื่องราวและเห็นภาพภายในศาลเจ้า ทั้งภาพการต้อนรับทหารจากชาวบ้าน หรือภาพที่มารดางักฮุยสลักคำสอนกลางหลังบุตรชาย จะรู้สึกเหมือนกันว่า “คนรักชาติ” จะได้รับการคารวะไม่ว่าจะอยู่หรือตาย ขณะที่คนทรยศแผ่นดิน ก็จะถูกถ่มน้ำลายใส่…แม้จะตายไปแล้ว..

หลังการศึกครั้งนี้ เยว่เฟยกราบทูลเสนอให้ซ่งกาวจงออกคำสั่งให้ทหารซ่งในพื้นที่ต่างๆบุกขึ้นเหนือแบบสายฟ้าแลบในทันที ตีชิงตงจิง (เมืองหลวงตะวันออก) คายเฟิงคืนมา จากนั้นข้ามแม่น้ำฮวงโหตีชิงพื้นที่เหอเป่ยคืนมา แต่ซ่งกาวจงกลับออกคำสั่งให้กองทัพในพื้นที่ต่างๆถอยกลับ ทำให้กองทัพของเยว่เฟยตกอยู่ตามลำพังไร้กองทัพหนุน จากนั้นส่งป้ายทองประกาศิตเรียกกองทัพเยว่เฟยกลับ ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก เยว่เฟยจึงต้องยกทัพกลับอย่างไม่มีทางเลือก ประชาชนในพื้นที่ต่างๆต่างมาร่ำไห้ที่หน้าม้าศึกของเยว่เฟย อ้อนวอนให้อยู่ต่อ อย่าได้กลับไป ตัวเยว่เฟยเองก็แค้นใจจนร้องไห้ แต่ก็จนใจด้วยถูกบีบจนไม่มีทางเลือก เพราะไร้ทัพหนุน หากรุกหน้าไปตามลำพังทัพเดียว จะถูกทัพจินโอบล้อมโจมตีแตกพ่ายได้ง่าย

หลังจากกองทัพซ่งถอยลงใต้ พื้นที่ที่ตีชิงกลับคืนมาได้ทั้งหมด ต่างตกเป็นของราชสำนักจินอีกครั้ง อานุภาพอันยิ่งใหญ่ของฝ่ายกู้ชาติก็ถูกพวกซ่งกาวจงและฉินฮุ่ยทำลายไปโดยง่ายดายเช่นนี้เอง

ปีที่ 11 ศักราชส้าวซิง (ค.ศ. 1141) ซ่งกาวจงและฉินฮุ่ยได้ริบอำนาจทางการทหารของเยว่เฟย หานซื่อจง หลิวฉีโดยแต่งตั้งให้หานซื่อจงและเยว่เฟยเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรองผู้บัญชาการฯ ฉากหน้าเลื่อนตำแหน่งแต่ความจริงลดอำนาจ โดยอำนาจคุมทัพที่แท้จริงตกอยู่ในมือของฝ่ายต้องการเจรจาสงบศึก จางจวิ้น (คนละคนกับหนึ่งในสี่ยอดแม่ทัพ) ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกคน ปีเดียวกันเดือน 8 ก็ได้ปลดเยว่เฟยออกจากราชการ เดือน 9 ฉินฮุ่ยคบคิดกับจางจวิ้นติดสินบนหวางจวิ้น หวางกุ้ย ลูกน้องของเยว่เฟย ใส่ความว่าเยว่เฟยคิดก่อการกบฏ จับกุมตัวเยว่เฟยและบุตรชายคนโต เยว่อวิ๋น กับขุนพลคู่ใจ จางเซี่ยนเข้าคุก ขุนนางแทบทั้งหมดในราชสำนักต่างเห็นว่าเยว่เฟยไม่มีความผิด แต่ฉินฮุ่ยได้ให้ม่อฉีเซี่ยซึ่งเป็นพวกเดียวกับเขาจัดการคดีนี้ ยัดข้อหาเยว่เฟยหลายกระทง ฝ่ายหวานเหยียนจงปี้ (อู้ซู่) ก็เสนอให้ประหารเยว่เฟยเป็นเงื่อนไขในการเจรจาสงบศึก

สุดท้ายซ่งกาวจงและฉินฮุ่ยได้สั่งประหารเยว่เฟย เยว่อวิ๋น และจางเซี่ยนด้วยข้อหา “น่าจะมีความผิด” (ฉินฮุ่ยไม่ยอมลดละความพยายามในการป้ายสีงักฮุยต่างๆ นานา แม้จะตรวจไม่พบความผิดใดๆ ก็ตาม แต่ในที่สุดฉินฮุ่ยก็ปั้นเรื่องจนทำให้งักฮุยต้องถูกโทษประหารจนได้ โดยเมื่อมีขุนนางฝ่ายงักฮุยคนอื่นๆ ทักท้วง และตั้งคำถามฉินฮุ่ยว่ามีหลักฐานในการกล่าวโทษงักฮุยหรือไม่ ฉินฮุ่ยก็ตอบว่า “อาจจะมีก็ได้ (莫须有)” คำตอบของฉินฮุ่ยที่ว่า “อาจจะมีก็ได้” นี้ ภายหลังกลายเป็นศัพท์ที่ถูกจารึกไว้ต่อๆ มาว่ามีความหมาย คือการให้ร้ายผู้อื่นโดยปราศจากหลักฐาน) ลงในวันสิ้นปี (ฉูซี)

ขณะที่เยว่เฟยตาย เพิ่งมีอายุได้ 39 ปี ครอบครัวของเขาถูกเนรเทศไปอยู่หลิงหนาน ผู้ที่พลอยติดร่างแหไปด้วยมีนับไม่ถ้วน
เยว่เฟยเป็นวีรบุรุษสามัญชนชื่อดังในประวัติศาสตร์จีน ทำยืนหยัดสู้ต่อต้านจินมานาน 18 ปี ได้รับความเคารพรักใคร่จากประชาชนเป็นอันมาก การตายของเขาได้ก่อให้เกิดความเศร้าสลดแก่มวลชนเป็นจำนวนมาก “ใต้หล้ายินข่าว ต่างหลั่งน้ำตา จากผู้ใหญ่ถึงทารกสูงสามฉื่อ(ประมาณ 70 ซม.) ต่างแค้นฉินฮุ่ย”

นอกจากเยว่เฟยจะน่าสนใจแล้ว เยว่อวิ๋น (ค.ศ. 1119-1142) บุตรชายคนโตของเขาก็น่าสนใจเช่นกัน ดูจากอายุคงทราบว่าเขาเกิดตอนเยว่เฟยอายุประมาณ 15-16 อายุ 12 เข้าเป็นทหารติดตามบิดาต่อต้านจิน อายุ 15 ขณะที่ตีชิงสุยโจวกลับคืนมา เขาเป็นคนแรกที่บุกเข้าไปเหยียบเมือง เป็นยอดขุนพลผู้ห้าวหาญแห่งกองทัพ ค.ศ. 1140 การศึกที่อิ่งโจว นำทัพบุกโจมตีค่ายแตก ตีทัพหลักของอู้ซู่จนแตกพ่าย แต่สุดท้ายก็ถูกประหารพร้อมเยว่เฟยตอนอายุ 23 น่าเสียดายอนาคตยอดขุนพลผู้นี้จริงๆ

แดงทั่วธาร (หม่านเจียงหง – 滿江紅)
แปลโดย โชติช่วง นาดอน (คุณทองแถม นาถจำนง)

โกรธา เกศา ตั้งดัน ชนหมวก ผมชัน
พิงเสา เอาหลัก พักไว้
จั้กจั้ก ฝนหนัก พักไป แหงนหน้า ฟ้าไกล
พองใจ กู่ก้อง ร้องดัง
(วัย) สามสิบ วีรกรรม ก็ยัง เพียงดิน ฝุ่นฝัง
แปดพัน ลี้เมฆ ควบแข
อย่าเซื่อง ว่างเฉา เปล่าแด ปล่อยวัย เปลี่ยนแก่
ชีวิต สูญเปล่า เศร้าฤทัย
แค้นปี จิ้งคัง ฝังใจ ยังไม่ ชดใช้
เมื่อใด ล้างหนี้หนอกู
ควบรถ บดค่าย ศัตรู อัปรา ริปู
เฮ้อหลาน ซานขาด พินาศไป
โชนกร้าว กระหาย กล้าใจ ฉีกกิน เนื้อไห้ไอ
คนเถื่อน ดื่มเลือด สรวลสันต์
รอก่อน กอบกู้ ถึงวัน พื้นแผ่น ดินผัน
เข้าเฝ้า ฉลอง ไชโย

อีกสำนวนหนึ่งเป็นการแปล ของ คุณ Dingtech

โกรธแค้นแสนคลั่ง เส้นเกศาตั้ง ใต้มาลา
เอนพิงอิงราว พิรุณกราวกราว ก็ละรา
แหงนเล็งเหลือบจ้อง นภาพลางกู่ร้อง ก้องโกญจา
กำแหงกล้าหาญ ปณิธานราน เร้าวิญญา
สามสิบขวบปี ยศศักดิ์แค่คลี ธุลีธรา
แปดพันลี้ทาง ท่องใต้เมฆางค์ และจันทรา
อย่ารั้งละเลย วัยทรามเศียรเอย หงอกแล้วหนา
“จิ้งคัง” ครั้งอัปยศ ยังมิแทนทด ความอัปรา
ความแค้นขึ้งใจ เสวกาคราใด ดับสูญหนา?
ขับขบวนรัถยาน หัก“เห้อหลานซาน” ด่านภิณทนา
หาญมั่นเจตน์มุ่ง หิวเนื้อ“หู”ปรุง เป็นภักษา
กระหายเลือด “ซยุงหนู” ดื่มดวดแล้วกู สรวลเสวนา
ร่วมกันอีกเรา ร่วมกอบกู้เอา ภูธารา
ค่อยค้อมบังคม บาทสวรรโยดม ณ ทวารา ฯ

จิ้งคัง (เจ๋งคัง): ชื่อปีรัชกาลที่ราชวงศ์ซ้องเสียเมืองหลวง ตรงกับปี ค.ศ. 1126 เป็นที่มาของชื่อของ ก้วยเจ๋ง และเอี้ยคัง ที่นักพรตคูชู่กีแนะนำต่อก้วยเซ่าเทียนกับเอี้ยทิซิม ตั้งชื่อบุตรเพื่อไม่ให้ลืมความอัปยศของรัชกาลเจ๋งคัง
เห้อหลานซาน: เป็นเมืองหน้าด่านทางภาคตะวันตก
หู, ซุงหนู: เป็นชื่อของชนเผ่านอกกำแพงใหญ่ สามารถรวบรวมกำลังมาตีกับชาวฮั่นเมื่อสบโอกาส

ที่มา
1. http://www.oknation.net/blog/chai/2009/11/13/entry-1/comment
2. http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dingtech&month=18-12-2009&group=4&gblog=1
3. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=358458

ลำนำพิณผีผา (琵 琶 行)…บทกวีโรแมนติกจีน โดย ไป๋จวีอี้

ลำนำพิณผีผา (琵 琶 行)…บทกวีโรแมนติกจีน โดย ไป๋จวีอี้

บทกวีลำนำผีผา โดย ไป๋จวีอี้ นี้ เป็นที่มาของชื่อนิยายวรยุทธภาคสุดท้ายของเบญจภาคกระเรียน-เหล็ก ของ หวังตู้หลู ที่ชื่อ ม้าเหล็ก แจกันเงิน (Iron Knight, Silver Vase) หวังตู้หลู คงประทับใจบทกวีนี้มาก จึงเอาข้อความในบทกวี ลำนำพิณผีผา มาเป็นชื่อนิยายของเขา

ตอนที่ว่า

แจกันเงินแตกทลายสายน้ำถั่ง
ม้าเหล็กพรู ทวน ดาบ ดังศัพท์ปะเปรี้ยง
จบเพลงเก็บแผ่นดีดกรีดกลางเจรียง
สี่สายเสียงเหมือนฉีกแพรขาดหมดพลัน
(ถอดความโดย อาจรย์ ยง อิงคะเวทย์ และอาจารย์ ถาวร สิกชโกศล)

ภาคสุดท้ายนี้ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทย โดย น. นพรัตน์ ให้ชื่อว่า ผู้กล้าอาชาเหล็ก ภาคที่สี่ตอนก่อนหน้า ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนต์โด่งดังไปถึงฮอลลีวูด คือ พยัคฆ์หมอบมังกรซ่อน

เสียดายที่ น. นพรัตน์ ไม่แปลผลงานสี่ภาคแรกแรก ให้ครบเบญจภาค งานเขียนของหวีงตู้หลู ชุดนี้มีคุณค่าทางวรรณกรรมมากกว่า นิยายกำลังภายในระดับผิวๆ ที่มีแปลกันมากมาย ตามความต้องการของตลาดกลุ่มที่อ่านนิยายกำลังภายในตอนนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าตลาดส่วนใหญ่ต้องการแบบนี้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ นี่เป็นสาเหตุที่ตลาดหนังสือกำลังภายในไม่ขยายตัว เพราะเห็นว่านิยายกำลังภายในเป็นพวกเดียวกับการ์ตูนหรือเปล่า

บทความข้างล่างนี้ หยิบยืมมาจาก บล็อก ของคุณ Dingtech โดยได้บอกกล่าวต่อกันแล้ว ขอบคุณครับท่าน
ตอนนี้ขอให้อ่านข้อเขียน และ คำแปลของ บทกวีนี้เต็มๆ

ไป๋จวีอี้ (白 居 易 ค.ศ. 772-846)

เป็นกวีเอกผู้หนึ่งในสมัยราชวงศ์ถัง เกิดที่ซินเจิ้ง ใกล้ๆ กับเจิ้งโจว
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน
เติบโตในตระกูลข้าราชการปัญญาชนในซิงหยาง เมืองเล็กๆ ใกล้บ้านเกิด

อายุ 12 ปี สามารถเขียนบทกลอนง่ายๆได้แล้ว

ครอบครัวเขาได้หลบหลีกความวุ่นวายทางการเมืองภาคเหนือ
ลงมาอยู่ที่มณฑลเจ้อเจียง

4 ปีต่อมามีหลักฐานว่าเขาไปอยู่ที่นครหลวงฉางอาน
โดยได้ยื่นเสนอผลงานบทกวีต่อผู้ตรวจราชการ กู้ควาง นักกวีโด่งดังคนหนึ่ง

ปี ค.ศ. 794 บิดาของเขาถึงแก่กรรม ขณะนั้นเขาอายุได้ 22 ปี
ต้องรับภาระดูแลครอบครัว เขาสอบเข้ารับราชการหลายครั้ง แต่ไม่ผ่าน
กระทั่งเมื่ออายุได้ 28 ปี จึงสอบได้ ทำราชการอยู่ 6 ปี จึงประสบความสำเร็จ
ได้รับการแต่งตั้งให้ได้รับตำแหน่งเป็นครั้งแรก

ปี ค.ศ. 811 กลับไปอยู่ที่หมู่บ้านเว่ย ซึ่งเป็นบ้านบรรพชน อยู่แถบแม่น้ำเว่ย
ในมณฑลส่านซี เพื่อเป็นการไว้ทุกข์ให้มารดาที่สิ้นชีพลงเนื่องจาก
ตกลงไปในบ่อน้ำขณะกำลังชมสวนดอกไม้

ปี ค.ศ. 815 หลังจากกลับมารับตำแหน่งเดิม ก็ถูกเนรเทศให่ไปอยู่ที่
สวินหยาง มณฑลเจียงซี เนื่องจากคือถูกใส่ร้ายโดยคู่แข่ง

ปี ค.ศ. 818 ถูกเรียกตัวกลับจากการเนรเทศ
แต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงแห่งจงโจว ในมณฑลเสฉวน

ปี ค.ศ. 822 เป็นข้าหลวงเมืองหังโจว

ปี ค.ศ. 825 เป็นข้าหลวงเมืองซูโจว

ปี ค.ศ. 829 ได้บุตรชายคนเดียว แต่พออายุไม่ถึง 2 ขวบก็เสียชีวิต

ปี ค.ศ. 831 ย้ายไปอยู่เมืองลั่วหยาง และได้รับการเลื่อนชั้น
ให้เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลเหอหนาน

ปี ค.ศ. 833 ก็ขอลาออกจากราชการเนื่องจากปัญหาสุขภาพ

ปี ค.ศ. 839 ป่วยเป็นโรคหลอดโลหิตสมองเป็นอัมพาต

ปี ค.ศ. 846 ถึงแก่กรรม สิริอายุได้ 75 ปี

หลายๆผลงานของเขา แต่งขึ้นมาเพื่อเปิดโปงชีวิตที่ลำบากของชนชั้นล่าง
ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เมื่อเขาแต่งบทกวีเสร็จก็จะให้หญิงชาวนาชราอ่านดูก่อน
หากเธอสามารถเข้าใจดีไป๋จึงจะถือว่าเสร็จเป็นร่างสุดท้าย

เขาจึงมีสมญานามว่า “กวีแห่งประชาชน”

เท่าที่ปรากฏ ไป๋แต่งบทกวีไว้ประมาณ 2,000 ชิ้น
งานของเขาเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา ให้อารมณ์อ่อนไหว
ชื่นชมธรรมชาติ อ่านแล้วสะเทือนอารมณ์

ในสมัยราชวงศ์ถัง มีทั้งสงครามชายแดน การแย่งชิงอำนาจในเมืองหลวง
บางรัชกาลก็สงบรุ่งเรือง ไป๋จวีอี้มีความศรัทธาในประชาชน สามัญชน
ทำตัวสนิทสนมง่ายกับชาวบ้าน หาความสุขได้กับสิ่งธรรมดา
ไม่หรูหราฟุ้งเฟ้อ อย่างไรก็ดีในงานของเขามีความรับผิดชอบต่อสังคมเสมอ
ไม่ละเว้นที่จะวิพากษ์วิจารณ์การเมืองและสังคมเมื่อมีโอกาสด้วยสำนวนที่แหลมคมกินใจ

ลองอ่านดูบทกวี “ลำนำพิณผีผา” ดูครับ

แต่งแบบ “ซือ” บรรทัดละ 7 คำ เมื่อปี ค.ศ. 816 ขณะถูกเนรเทศไปอยู่ที่สวินหยาง
ในบทกวีที่แสนเศร้านี้ยังบรรยายถึงเทคนิคการเล่นพิณผีผา
ซึ่งนักดนตรีที่เชี่ยวชาญล้วนต้องผ่านการศึกษาจากบทกวีนี้
ผู้แปลไม่สามารถถ่ายทอดลงละเอียดถึงเทคนิคการบรรเลง การใช้นิ้ว
ตลอดจนลีลาเพลง หลายคำเป็นศัพท์เฉพาะทางดนตรี
หวังว่าจะได้รับการอภัยหากมีข้อผิดพลาด
และยังหวังให้ผู้รู้ช่วยเสริมเติมร่วมเรียนรู้………เชิญครับ

ลำนำพิณผีผา

โดย ไป๋จวีอี้

ยามหัวค่ำส่งแขกที่สวินหยางเจียง
…..เสียงลมฤดูศารทพัดใบเฟิงและพงแขมดังเกรียวกราว
เจ้าภาพลงจากม้า ผู้เป็นแขกอยู่ในเรือ
…..ชูจอกสุราดื่มกัน ไร้ดนตรีขับกล่อม

ยังมิเมากลับรู้สึกเศร้าที่ต้องจากกัน
…..วารต้องพรากแม่น้ำเวิ้งว้างสะท้อนเงาจันทร์ทาบ
บัดดลยินเสียงพิณผีผาลอยมาเหนือน้ำ
…..เจ้าภาพยังมิทันขึ้นม้า แขกยังมิทันออกเรือ

จึงเคลื่อนตามถามไปว่า “เสียงพิณมาแต่ใครที่ไหน?”
…..เสียงพิณหยุดชะงัก ไร้เสียงตอบกลับ
เห็นเรือลำหนึ่งริมตลิ่งหญิงเล่นพิณท่าเอียงอาย
…..เติมสุราตามประทีปเชื้อเชิญนางร่วมวง

วอนเธอแล้ววอนเธอเล่าโปรดเล่นเพลงพิณผีผา
…..นางโอบพิณมาปิดบังหน้าซีกหนึ่งไว้
พอขึ้นสายก็ลองเสียงดังแผ่วเบา
…..เริ่มเพลงเร้าอารมณ์ซึ้งแสนกำสรด

นางก้มหน้ากรีดนิ้วกระทบสาย
…..สำเนียงเพลงบรรเลงบรรยายความรู้สึก
เริ่มด้วยเพลง “กระโปรงขนนกสีรุ้ง”
…..ตามมาเป็นเพลง “หกจังหวะ”

สายทุ้มดังซู่ซ่าเกรียวกราวราวสายฝน
…..สายเอกราวเสียงพร่ำพรอดกระซิบกระซาบ
ดังสลับขับขานประเลงประลอง
…..ดุจดังมุกเม็ดเล็กใหญ่ร่วงใส่จานหยก

และสำเนียงนกขมิ้นร้องกลางหมู่มาลี
…..เหมือนวารีไหลผุดผ่านท้องธารเย็นเยือก
แล้วพลันหยุด ความเงียบปกคลุม
…..เสียงเงียบสิ กลับหวานชื่นกว่าเสียงดนตรี

และแล้วกลับฉับดังเพลงพิณอีก
…..ดังระเบิดลั่นราวน้ำกระจายจากแจกันแตก
ตามด้วยเสียงศาสตราหอกดาบประกระทบ
…..กับเสื้อเกราะนักรบดังเคล้งคล้าง

ท้ายสุดเสียงสายทั้งสี่ประสานสอดสนั่น
…..เป็นเสียงเดียวกันเฉกฉีกผ้าไหมควากจบ

เรือสองลำกลับสงัดเงียบอีกครา
…..มองท้องธาราเห็นจันทร์ฤดูศารทผ่องสกาว

เธอถอนใจพลางหยิบไม้ดีดกรีดสายพิณ
…..จัดอาภรณ์ให้เข้าที่พลางนั่งลงเล่าเรื่องราว
กล่าวว่า “ข้าน้อยนี้แต่เดิมเป็นชาวนครหลวง (ฉางอาน)
…..อยู่ ณ ดำบลเซียหมาหลิง

เมื่ออายุสิบสามเรียนสำเร็จวิชาพิณผีผา
…..มีชื่อเสียงเชี่ยวชาญเป็นที่หนึ่งของชั้นเรียน
การแสดงของข้าน้อยเป็นที่ชมชอบยิ่งของอาจารย์
…..เมื่อแต่งองค์ทรงเครื่องก็ยิ่งงามโฉมน่าอิจฉานัก

บรรดาชายหนุ่มตระกูลดีแถวอู่หลิงล้วนรุมล้อม
…..เล่นเพลงเดียวก็ได้ของกำนัลผ้าไหมหลายม้วน
ยามเล่นเพลินตามจังหวะจนทำหวีเงินตกปิ่นหล่นแตก
…..กระโปรงสีแดงโลหิตก็เปื้อนเปรอะด้วยสุรารด

วันเวลาผ่านไปสุดแสนสราญรมย์ปีแล้วปีเล่า
…..ลมวสันต์จันทร์ศารทเวียนผันผลัด
น้องชายถูกโยกย้ายไปชายแดน มารดาก็เสียชีวิต
…..เมื่ออายุวัยมากขึ้นแขกเหรื่อหดหาย

ที่หน้าบ้านพวกรถม้าเคยหาสู่ลดลง
…..สุดท้ายข้าน้อยจึงแต่งงานกับพ่อค้าวานิชหนึ่ง
ผู้ซึ่งมุ่งกำไร จนไม่ใส่ใจยี่หระละทิ้งบ้านช่อง
…..หนึ่งเดือนแล้วที่เขาจากบ้านไปฟู่เหลียงซื้อใบชา

ข้าน้อยจึงออกเรือเปล่าล่องมาปากน้ำ
…..แสงจันทร์สาดต้องลำเรือบนสายนทีที่เหน็บหนาว
ย่างสู่ราตรียิ่งหวนคนึงถึงยามเยาว์ดรุณ
…..ชลนัยน์ไหลเป็นทางเลอะใบหน้าอาบสำอาง”

ยามได้ยินเรื่องราวนักพิณผีผานี้เล่าแล้ว
…..ข้าฯรู้สึกแสนเศร้ารันทดนัก
เราสองล้วนร่วมชะตาร้ายคล้ายกันถูกทอดทิ้ง
…..แม้แรกพบปะจะนับเป็นเพื่อน ควรฤาถือสา!

“ตัวข้าฯนี้ปีกลายถูกเนรเทศจากนครหลวง
…..มาพำนักพักนอนเจ็บที่สวินหยาง
สวินหยางถิ่นนี้ที่ไร้สีเสียงสุดกันดาร
…..ตราบจะหมดปีฤาห่อนมีดนตรีฟัง

อาศัยอยู่เผินเจียงที่ลุ่มแฉะ
…..พงแขมเหลืองขึ้น ไผ่ขมล้อม กระท่อมข้าฯ
ตั้งแต่เช้าถึงค่ำได้ยินแต่เสียงนกดุเหว่าร้อง
…..กับชะนีที่โหยหวนครวญดังมา

วสันต์มาลีคลี่บานเบ่ง จันทร์ศารทเปล่งในราตรี
…..ข้าฯนี้ต้องดื่มสุราแต่เดียวดาย
พอมีแต่เพลงพื้นเมืองกับขลุ่ยชาวบ้าน
…..พอถูไถให้ยินยลแก้ขัดสน

ราตรีนี้ข้าฯได้สดับเพลงพิณไพเราะของนาง
…..ดังฟังเทพบรรเลงเพลงเสนาะแสน
ขอนางโปรดนั่งลงเล่นอีกสักเพลงเถิด
…..แล้วข้าฯจะแต่งบทกวี ‘ลำนำพิณผีผา’ กำนัลนาง”

พอได้ยินวาจาข้าฯ นางยืนนิ่ง
…..แล้วค่อยนั่งลงที่เดิมโอบพิณแล้วกรีดสาย
บรรเลงเพลงเย็นโศกไม่เหมือนเพลงก่อน
…..เบือนหลบซ่อนหน้าน้ำตาเอ่อล้นริน

ใครหนอให้ทุกข์ระทมถึงปานนี้?
…..เสื้อครามของซือหม่าแห่งเจียงโจวเปียกชุ่มอัสสุชล ฯ

มีผู้นิยมชมชอบบทกวีนี้มาก
นำไปแต่งเพิ่มเติมเป็นอุปรากรงิ้ว ละคร บทขับลำนำ ฯลฯ
จิตรกรหลายท่านมีจินตนาการ วาดเขียนเป็นภาพมากมาย

ของผมมีอยู่หนึ่งม้วน….ข้างล่างนี่แหละครับ

สำหรับดนตรีคราวนี้ต้องเป็นเพลงพิณผีผาแน่นอน
เพลงนี้เป็นเพลงที่ศึกษาจากบทกวี “ลำนำพิณผีผา” ของไป๋จวีอี้
ท่านจะได้เห็นลีลาและเท็คนิกการใช้นิ้วที่แสนพิสดาร เช่น “หลุน”
คือการควงนิ้วดีด เสียงติดต่อกันยาวสม่ำเสมอเร่งเร็วชะลอช้าได้ตามปรารถนา
ผมว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากรองจากกู่ฉิน

มังกรหยก 1 – ตำนานวีรบุรุษอินทรี

มังกรหยก 1 – ตำนานวีรบุรุษอินทรี
Condor Trilogy I: Legend of the Condor Heroes (LOCH) หรือ The Eagle-Shooting Heroes

เรื่อง มังกรหยก ภาค 1 เป็นยุทธจักรนิยายสำคัญยิ่งเรื่องหนึ่ง ของ กิมย้ง เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วทุกมุมโลกที่มีคนจีน มีคนกล่าวถึงมากที่สุด นับตั้งแต่เรื่องนี้เป็นต้นไปนิยายของกิมย้งได้รับกา รยกย่องว่าเป็นงานชั้นครู เรื่องนี้จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของกิมย้ง

มังกรหยก 1 – ตำนานวีรบุรุษอินทรี เป็นชุดแรกของไตรภาค นิยายในไตรภาคนี้ได้แก่:

The Legend of the Condor Heroes (射鵰英雄傳) (1957)
The Return of the Condor Heroes (神鵰俠侶) (1959)
The Heaven Sword and Dragon Saber (倚天屠龍記) (1961)

ชมวิดีโอ มังกรหยกชุดแรกที่ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนต์ทีวี 3 เวอร์ชันก่อนเลยครับ
1983 – หวงเย่อหัว กับ องเหม่ยหลิง
1994 – จางจื่อหลิน กับ จูอิน
2003 – หลีหย่าเผิง กับ โจวซวิ่น

และ เวอร์ชัน ปี 1976

เวอร์ชันล่าสุด มังกรหยก 2008

กิมย้งเขียนนิยายเรื่อง มังกรหยก ภาค 1 (เสี้ยเตี่ยวเอ็งย้งตึ้ง) เป็นเรื่องที่ 3 ในชีวิตการเขียนวรยุทธนิยายของท่าน เรื่องนี้สร้างปรากฎการณ์กำลังภายในฟีเวอร์ทั้งเอเซีย ที่ประเทศไทย จำลอง พิศนาคะ นำมาแปลเป็นคนแรก เล่ากันว่า คนอ่านนิยายเรื่องนี้ตืดกันงอมแงม ขนาดไปที่เข้าแถวโรงพิมพ์เพื่อเฝ้ารอซื้อเล่มที่เพิ่งจะตีพิมพ์เสร็จ

มังกรหยกวรรณกรรมจีนที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อวงการวรรณกรรมไทยเรา เห็นจะไม่มีประเภทใดได้รับความนิยมสูงสุ่งเท่า เรื่องจีนกำลังภายใน นับมาตั้งแต่สมัย สามก๊ก ที่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ท่านอุตสาหะพยายามถ่ายทอดเรื่องราวจากจีนมาเป็นไทยจนกลายเป็นวรรณคดีอมตะนั่น ยังไม่มีเรื่องจีนเรื่องใดอีกเลยที่ผูกมัดหัวใจคนไทยได้ฉกาจฉกรรจ์ จนกระทั่งมาถึงยุคกำลังภายใน ก็เช่นกัน ไม่มีนิยายจีนกำลังภายในเรื่องใดจะยิ่งใหญ่ไปกว่า มังกรหยก

ฟ้ากว้างใหญ่ ดินไพศาล สุดสายตา
สร้างชีวา ในโลกา เหลือคณา
รุกรานทำลายกันเองไม่เลิกรา
เวทนา ทุกข์มากมาย หลายเหลือเฟือ
ฟ้าสวรรค ธรณี มีเทพรักษา
เหตุใดหนา จึงดูดาย ไม่ช่วยเหลือ
โลกเปี่ยมทุกข์ ทั่วทุกหน จนหน่ายเบื่อ
ทุกเมื่อเชื่อวันหมองหม่น ระทมทุกข์

” … นับแต่โบราณกาลมา วีรบุรุษผู้กล้าที่ผู้คนนั้นแซ่ซ้องสดุดี อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึง ต้องเป็นบุคคลที่สร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน รักเมตตาแก่ราษฎร ผู้ที่ฆ่าคนจำนวนมากไม่แน่ว่าจะนับเป็นวีรบุรุษผู้กล ้า…” ก๊วยเจ๋ง ยอดวีรบุรุษ (น. นพรัตน์ แปล)

ทำไมถึงตั้งชื่อเรื่องนี้ว่า มังกรหยก ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวกับมังกรเลย ก็ยังไม่มีผู้ใดทราบได้แต่เดากันต่างๆ นาๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณจำลอง ได้ให้สัมภาษณ์ คุณเจนภพ ที่ถามว่าทำไมถึงมาแปลเริ่องมังกรหยก

“มังกรหยกเป็นนิยายจีนกำลังภายในเรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดครับ และ เป็นเรื่องที่มีความยาวที่สุดด้วย มากกว่านิยายทั้งที่เขียนเองหรือแปลมาทุก ๆ เล่มในวงการหนังสือเมืองไทย มังกรหยก เป็นบทประพันธ์ของกิมย้ง เขาเป็นกรรมการแห่งสมาคมพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์ในฮ่องกง มีอายุอ่อนกว่าผม แค่ 3 ปี เท่าที่ผมแปลเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าคนคนนี้มีความรู้ในเรื่อง พุทธศาสนามาก และเรื่องมังกรหยกนี้ก็สอดแทรกปรัชญาทางพุทธศาสนาทั้งเล่ม คำพูดที่เราเขียนออกมานี่ ถ้าคนไม่เคยรู้เคยปฏิบัติทางพุทธมาก่อนจะทำไม่ได้ พูดไม่ได้ เรียนไม่ได้ และผมเองก็ไม่ชอบการลอกเอาคัมภีร์มาลงทั้งดุ้นด้วย ก็เพราะมังกรหยกนี่ล่ะครับ ทุกคนถึงกลัวผม ใครจะด่าหรือตั้งหน้าทำลายยังงัยผมก็ไม่ตาย ผมยังมีทีเด็ดอีกเยอะ มังกรหยก ภาค 4 ภาค 5 และ ภาคพิเศษ ก็มีอีก”

ท่าน ถาวร สิกโกศล (ใน สกัดจุดยุทธจักรมังกรหยก) ได้กล่าวถึงเรื่อง ชื่อ มังกรหยก ที่ ท่านจำลอง พิศนาคะ เป็นผู้ตั้งชื่อไว้ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเนื้อเรื่อง แต่ฟังดูแล้วเข้าที เลยใช้กันเรื่อยมา

ที่น่าจะเดาใจท่านจำลอง ได้ว่าทำไม่ตั้งชื่อเรื่องนี้ว่ามังกรหยก คือจากคำพูดของท่าน “มังกรหยกเป็นนิยายจีนกำลังภายในเรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดครับ” คนจีน ถือว่า “มังกร” เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศ บวกกับคำว่า “หยก” เรียกว่า ที่สุดกับที่สุดมารวมกัน เท่ากับเป็นการให้เกียรติสูงสุด

มังกรหยก ภาค 1 ข้อมูลเกี่ยวกับการตีพิมพ์ได้มาจาก เว็บของท่านมือปีศาจ
ผู้แต่ง กิมย้ง
ผู้แปล จำลอง พิศนาคะ
พิมพ์ครั้งที่ 1 สพ เพลินจิตต์ (ศิริอักษร) พิมพ์ปี พ.ศ. 2502 จำนวน 32 เล่มจบ (เล่มเล็ก)
พิมพ์ครั้งที่ 2 สพ มิตรสาส์น พิมพ์ปี พ.ศ. 2514 จำนวน 54 เล่มจบ (เล่มเล็ก) ปกแช็ง 7 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 8 สพ บันดาลสาส์น พิมพ์ปี พ.ศ. 2517 จำนวน 8 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 9 สพ บันดาลสาส์น พิมพ์ปี พ.ศ. จำนวน 10 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 10 สพ สร้างสรรค์ พิมพ์ปี พ.ศ. 2537 จำนวน 8 เล่มจบ (พร้อมกล่อง)

สำนวนแปลของ จำลอง พิศนาค แปลจากต้นฉบับเดิม ก่อนการแก้ไขปรับปรุง ของ กิมย้ง ประมาณการว่า น่าจะแปลประมาณปี พ.ศ. 2501 – 2502 เพราะจัดพิมพ์ครั้งแรกโดย สำนักพิมพ์ศิริอักษร (สำนักพิมพ์เพลินจิตต์) เมื่อปี พ.ศ. 2501 – 2502 เป็นสำนวนแปลที่ทำให้คนไทย รู้จักกับ มังกรหยก เป็นครั้งแรก และเรื่องนี้ยังส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ที่เฟื่องฟูของนิยายกำลังภายในตามมา รวมทั้งเกิดผู้แปลนิยายกำลังภายในตามมาอีกมากมาย และอีกประการหนึ่ง นิยายเรื่องนี้ยังถือได้ว่า เป็นจุดกำเนิดของนิยายกำลังภายใน ด้วยเช่นกัน รวมถึง คำว่า กำลังภายใน ซึ่งได้ปรากฏในนิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก สำนวนของจำลอง พิศนาคะนี้ ได้นำกลับมาพิมพ์ซ้ำหลายรอบ ซึ่งยังคงหาอ่านได้ในปัจจุบัน เท่าที่ทราบข้อมูล ปี พ.ศ. 2517 สำนักพิมพ์บันดาลสาส์น จัดพิมพ์เป็น 10 เล่มจบ และในปีต่อ พ.ศ. 2518 สำนักพิมพ์บันดาลสาส์น จัดพิมพ์ใหม่ ในรูป 8 เล่มจบ และในปี พ.ศ. 2537 สำนักพิมพ์สร้างสรรค์ – วิชาการ ได้จัดพิมพ์เป็น 8 เล่มจบ

ต่อมา ว. ณ เมืองลุง นำมาแปล เรียกชื่อภาคนี้ว่า มังกรจ้าวยุทธจักร สำนวนแปลของ ว. ณ เมืองลุง แปลจากฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 1 ของ กิมย้ง โดยแปลครั้งแรกลงใน หนังสือพิมพ์รายวัน แนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์ ฉบับที่ 10452 ประจำวันศุกร์ ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยใช้ชื่อเรื่องว่า มังกรจ้าวยุทธจักร ซึ่ง ว. ณ เมืองลุง ได้เขียนไว้ในคำนำหนังสือ ว่า ชื่อเรื่อง มังกรเจ้ายุทธจักร นี้ เปลว สีเงิน เป็นคนคิดชื่อนี้ให้ โดยลงติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงฉบับที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ได้มีการเปลี่ยนผู้แปลใหม่ คือ ศ. อักษรวัฒน์ และเปลี่ยนชื่อเรื่องใหม่เป็น มังกรยอดยุทธจักร ฉบับพิมพ์ล่าสุด สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ปี พ.ศ. 2537

สำนวนที่สามเป็นของ น. นพรัตน์ แปล เรียก มังกรหยก ภาค 1 ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ สำนวนแปลของ น. นพรัตน์ แปลจากฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 2 ของ กิมย้ง พิมพ์รวมเล่ม และได้ลิขสิทธิ์ตลอด โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ซึ่งจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2537 (8 เล่มจบ) และในปี พ.ศ. 2546 (4 เล่มจบ)

สำนวนที่ 4 โดย คนบ้านเพ ตั้งชื่อว่า จอมยุทธมังกรหยก ภาค 1 วีรชนพิชิตมาร แปลจากฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 2 ของ กิมย้ง โดยแปลให้กับสำนักพิมพ์สุขภาพใจ (พ.ศ. 2540)

มีการบันทึกว่ามีอีกสำนวนแปลหนึ่ง แปลก่อน คุณจำลองเสียอีก แต่แปลไม่จบ สำนวนแปลครั้งแรกแปลจากต้นฉบับเดิม ก่อนการแก้ไขปรับปรุง ของ กิมย้ง ผู้ประพันธ์ใช้นามปากกาว่า ไผ่ผุ น่าจะแปลประมาณ พ.ศ. 2500 โดยแปลลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่จังหวัดพิษณุโลก โดยตั้งชื่อเรื่องใกล้เคียงกับภาษาจีน ว่า วีรบุรุษมือธนู ไม่มีข้อมูลเหมือนกันว่า แปลถึงตอนไหน

มังกรเจ้ายุทธจักร
ผู้แต่ง กิมย้ง
ผู้แปล ว. ณ เมืองลุง
พิมพ์ครั้งที่ 1 สพ ประพันธ์สาส์น พิมพ์ปี พ.ศ. จำนวน 50 เล่มจบ (เล่มเล็ก) และ ปกแข็ง 10 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 2 สพ บรรณาคาร จำนวน 7 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 3 สพ ดอกหญ้า พิมพ์ปี พ.ศ. 2537 จำนวน 4 เล่มจบ บรรจุกล่อง
พิมพ์ครั้งที่ 4 สพ สร้างสรรค์ พิมพ์ปี พ.ศ. 2553 จำนวน 4 เล่มจบ บรรจุกล่อง รอซื้อเลยครับ

ไตรภาค มังกรหยก ชุดที่ 1 ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ
ผู้แต่ง กิมย้ง
ผู้แปล น. นพรัตน์
พิมพ์ครั้งที่ 1 สพ สยามอินเตอร์คอมิกส์ พิมพ์ปี พ.ศ. 2537 จำนวน 8 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 2 สพ สยามอินเตอร์บุ๊ค พิมพ์ปี พ.ศ. 2546 จำนวน 4 เล่มจบ

ท่านกิมย้งได้แก้ไข ข้อขัดแย้ง ข้อบกพร่อง 3 ครั้ง ครั้งล่าสุด ทำการแก้ไขเมื่อปี 2544
ฉบับของท่านจำลองแปลมาจากฉบับแรกที่ยังไม่มีการแก้ไข
ฉบับของ ท่าน ว. แปลมาจากฉบับที่ท่านกิมย้งแก้ไขครั้งที่หนึ่ง
ฉบับของ ท่าน น. พิมพ์ครั้งที่ 1 แปลมาจากฉบับที่ท่านกิมย้งแก้ไขครั้งที่สอง
ฉบับของ ท่าน น. พิมพ์ครั้งที่ 2 อ้างว่าแปลมาจากฉบับที่ท่านกิมย้งแก้ไขครั้งที่สาม

มังกรหยก 1 เป็นเรื่องราวเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ้องที่เป็นพื้นหลังทางประวัติศาสตร์ของนิยาย เขียนถึง ก้วยเจ๋งและเอี้ยคัง ทายาทของสองพี่น้องร่วมสาบานชาวฮั่น ก้วยเซ่าเทียนและเอี้ยทิซิม ถูกเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่แผ่นดินฮั่น คนหนึ่งดำรงอยู่หลักคุณธรรมรักแผ่นดินเกิดแม้อยู่ต่างแดน แต่อีกคนกลับมักใหญ่ใฝ่สูงฝักใฝ่ศัตรู แม้อาศัยอาศัยอยู่ในแผ่นดินเกิด ราชวงศ์ซ้องกำลังทำสงครามกับราชวงศ์จิ้นของไต้กิม และต่อมาเจงกิสข่านบุกแผ่นดินจิ้น

ความโดดเด่นของเรื่องนี้ คือ การสร้างตัวละคร ซึ่งมีทั้งความสลักเสลา เกินจริง และ ความสมจริงผสมกัน ตัวละครเหล่านี้มีชีวิตชีวา น่าประทับใจ เช่น มารบูรพา พิษประจิม ราชันต์ทักษิน ยากจกอุดร เฒ่าทารก ก๊วยเจ๋ง อึ้งย้ง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มานั่งกลางใจ ประทับใจจนยากจะลืมเลือน

บทสนธนาของก๊วยเจ๋งกับเจงกิสช่าน ลองอ่านดูครับ
“ก๊วยเจ๋ง เราได้สร้างผืนแผ่นดินมองโกลให้ยิ่งใหญ่จะหาผู้ใดมาเ ปรียบเทียบเสมอเหมือนได้ นับตั้งแต่โบราณกาลมา ก็เห็นมีแต่เราเพียงผู้เดียว และนับตั้งแต่ผืนแผ่นดินมองโกลถือสถานที่นี้เป็นใจกลางแล้ว ก็จะมีอาณาเขตกว้างขวางยิ่งนัก แต่ละทิศสามารถที่จะเดินทางไปหนึ่งปีจึ่งสิ้นสุด อาณาเขตของแผ่นดินมองโกลเจ้าจงบอกให้เราฟังดูทีหรือว่า นับตั้งแต่โบราณมา ยังจะมีผู้ยิ่งใหญ่คนใดที่สามารถกระทำได้ดังนี้?”

ก๊วยเจ๋งนิ่งขรึมชั่วครู่ตอบว่า “ฝีมือในการรบของท่านข่านผู้ยิ่งใหญ่ เป็นที่เลื่องลือปรากฏทั่วทั้งแผ่นดิน จะหาผู้ใดมาเสมอเหมือนมิได้ แต่การที่ท่านข่านมีชื่อเสียงเป็นที่เกรงขามแก่คนทั้งปวง ก็มิทราบว่าบนผืนแผ่นดินได้สะสมโครงกระดูกสีขาวของคน เหล่านั้นกองสูงสักเพียงใด? และมิทราบว่าน้ำตาของเด็กน้อย และแม่ม่ายกับผู้เป็นมารดา ได้หลั่งไหลออกมาเป็นสายธารสักกี่มากน้อย”

“ท่านข่านผู้ยิ่งใหญ่ ท่านได้เลี้ยงดูและอบรมข้าพเจ้ามา มิหนำซ้ำได้บีบบังคับให้มารดาของข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไป อันบุญคุณของท่านและความแค้นของข้าพเจ้าซึ่งเป็นส่วนตัว ข้าพเจ้ามิขอกล่าวขึ้นอีกเป็นอันขาด แต่ข้าพเจ้าใคร่จะขอถามอีกสักคำหนึ่งว่า อันธรรมดาคนเราเมื่อตายลงไปแล้ว ก็ถูกฝังอยู่ในแผ่นดิน ยังจะสิ้นเปลืองเนื้อที่สักเท่าใด”

เมื่อเจ็งกิสข่านได้ยินดังนั้นฟาดแส้ม้าออกไป ตวัดเป็นวงกลม บอกว่า “คงมีขนาดไม่มากมายไปกว่ารัศมีของแส้ที่เราได้เหวี่ยงออกไปนี้”

ก๊วยเจ๋งบอกว่า “ใช่แล้ว ถ้ากระนั้นท่านได้ฆ่าฟันผู้คนมาเป็นจำนวนมากมาย หยาดโลหิตของคนเหล่านั้นได้หลั่งไหลชโลมแผ่นดินกี่มา กน้อย จึ่งทำให้ท่านสามารถรุกรานเอาบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าม าครอบครองเป็นจำนวนมากถึงเพียงนี้ ในที่สุดท่านยังได้ประโยชน์อันใดหรือ?”

เจ็งกิสข่านได้ยินดังนั้นก็เฉลย ก๊วยเจ๋งกล่าวต่อไปว่า “แต่โบราณมา บรรดาผู้กล้าหาญและยอดนักรบที่เป็นขุนศึกอันยิ่งใหญ่ ทำให้คนภายหลังพากันหวนรำลึกและเคารพนับถืออย่างยืนน าน ก็เพราะได้สร้างบุญคุณไว้ให้กับราษฎร เป็นผู้ให้ความรักและคุ้มครองแก่มวลราษฎรเหล่านั้นต่ างหาก ตามความเห็นของข้าพเจ้าเห็นว่า ผู้ที่ฆ่าคนอย่างมากมายมิใช่ว่าเป็นผู้กล้าหาญเสียที เดียวก็หาไม่”

เจ็งกิสข่านถามว่า “ชะรอยชั่วชีวิตของเรานี้ มิได้ประกอบกรรมทำความดีไว้บ้างทีเดียวหรือ”

ก๊วยเจ๋งตอบว่า “การกระทำความดีของท่านย่อมมีอยู่เป็นธรรมด และมากมายยิ่งนัก แต่การที่ท่านยกกองทัพไปรุกรานทางเหนือและทางใต้ ซากศพของผู้คนกองสูงดุจดั่งภูเขา ความดีและความชั่วย่อมจะทำให้มองเห็นว่าแตกต่างกันยา กที่จะกล่าวได้”

จาก มังกรหยก ภาค 1 จำลอง พิศนาคะ แปล

——————————————————————————————————

การปรับปรุงครั้งล่าสุด Flown Feather แปลมากกระทู้ของ คุณ Athena ที่ www.spcnet.tv ที่เป็นภาษาอังกฤษ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/

1. บ้วยทิวฮวงเคยเป็นคนรับใช้ (หลังจากกำพร้า ลุงที่ยากจนของเธอไม่สามารถเลี้ยงดูเธอไหว จึงขายเธอให้กับบ้านเศรษฐีสกุลเจียง แม้เธออายุแค่สิบสองขวบเธอจัดว่าเป็นเด็กสาวที่สวยคนหนึ่ง ในขณะที่เธอกำลังซักผ้า เศรษฐีเจียงเข้ามาหาและต้องการจะลวนลามที่หน้าอก
เธอผลักไสเขาออก ในมือของเธอมีสบู่แล้วฟองสบู่ไปติดกับเคราของเศรษฐีเจียงเป็นที่ขบขัน ฮูหยินเจียงมาเห็นเข้าใจผิดคิดว่าเธอพยายามยั่วยวนสามีนาง จึงดุด่าและทำโทษเธอ ถึงกับจะควักลูกตาเธอออก อาจารย์อึ้งเอี๊ยซือผ่านมาพบเลยสั่งสอนฮูหยินเจียง อีกทั้งยังให้ไถ่ตัวบ้วยทิวฮวงเป็นอิสระรับเธอเป็นลูกศิษย์คนที่สาม

2. ศิษย์เอกของอึ้งเอี๊ยซือคือเข็กเล้งฮวงมีอายุสามสิบและเป็นหม้าย มีบุตรสาวชื่อส่ากู ในฐานะที่เป็นศิษย์คนโต จึงได้รับหน้าที่สอนวิทยายุทธแศษย์น้องแทนอาจารย์

3. บ๊วยทิวฮวงเติบโตเป็นสาวแสนสวย อึ้งเอี๊ยซือ เข็กเล้งฮวง ตั้งเฮียนฮวง ต่างหวั่นไหวด้วยความงามของเธอ เข็กเล้งฮวยหักห้ามใจได้เนื่องจากสูญเสียภรรยา และไม่ต้องการจะมีความรักอีกต่อไป นอกจากนี้เขายังล่วงรู้จิตใจอาจารย์ตนเองที่แอบหลงรักนาง อึ้งเอี๊ยซือถึงกับหงุดหงิดและเศร้าเสียใจตนเองที่เป็นเช่นนี้ (มีบทกลอนที่แต่งโดยนักกวีสมัยซ้องชื่อ Ouyang Xiu ที่สื่อถึงความลุ่มหลงที่เขามีต่อนาง)

4. เมื่อเข็กเล้งฮวงรู้ว่าตั้งเฮียนฮวงลักลอบได้กับบ๊วยทิวฮวง ทั้งสองได้ต่อสู้กัน ตั้งเฮียนฮวงพ่ายแพ้ เข็กเล้งฮวงโกรธเพราะเขารู้สึกว่าทั้งสองทรยศอาจารย์ (บ๊วยทิวฮวงเคยสาบานว่าเธอจะอยู่เคียงข้างอาจารย์ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม) เมื่ออึ้งเอี๊ยซือล่วงรู้ว่าศิษย์ทั้งสองต่อสู้กัน เขาโกรธที่เข็กเล้งฮวงคาดคะเน จิตใจเขาออก และความรู้สึกของเขาที่มีต่อบ๊วยทิวฮวงเป็นที่เปิดเผย จึงรู้สึกอับอายขายหน้า และโยนความผิดที่เข็กเล้งฮวง ด้วยอารมณ์โกรธจึงหักขาลูกศิษย์คนโตและขับไล่ออกจากเกาะพร้อมกับส่ากู

นับแต่นั้นอึ้งเอี๊ยซือละเลยตั้งเฮียนฮวงกับบ๊วยทิวฮวง และไม่สอนวิชาแก่พวกเขาอีกเลย เขาออกจากเกาะดอกท้อไปท่องเที่ยวและกลับมาพร้อมแม่ของอึ้งย้ง ในวันฉลองเทศกาล อึ้งเอี๊ยซือดื่มเหล้าเมาแล้วพูดว่า

“ ใครบังอาจกล่าวว่าภูตบูรพาหลงรักลูกศิษย์ตนเอง ”

เจ้าโง่เข็กเล้งฮวง ตอนนี้ไปอยู่ที่ไหน ข้าให้อภัยเจ้าแล้ว ไปบอกเขาให้กลับมาได้ ตั้งเฮียนฮวงได้ยินเข้าจึงตัดสินใจหนีออกจากเกาะพร้อมบ๊วยทิวฮวง โดยแอบไปขโมยคัมภีร์ด้วย

5. จิวแป๊ะทง (Zhou Botong) หาที่ซ่อนคัมภีร์เก้าอิม (Jiuyin Zhenjing) ได้เจอกับอึ้งเอี๊ยซือกับภรรยา แล้วโดนหลอกเหมือนเวอร์ชันที่สอง จิวแป๊ะทงสังเกตุว่าอึ้งเอี๊ยะซือดูกระสับกระส่าย และเขาไม่ได้ฉีกคัมภีร์ของแท้ทิ้ง

6. เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตอนเจ็ดประหลาดกังหน่ำตามหาก๋วยเจ๋งกับนางลีปิงผู้เป็นแม่ กัวเต็งอักตาบอดแต่กำเนิด

7. บ๊วยทิวฮวงและตั้งเฮียนฮวงฝึกคัมภีร์ ตระกูลเจียงเป็นเหยื่อรายแรกของการฝึกฝนพลังชั่วร้ายนี้ พวกเขายังฝึกทักษะอื่นเช่น พลังเสื้อเกราะเหล็ก ระฆังทอง

8. หลังจากบ๊วยทิวฮวงและตั้งเฮียนฮวงออกจากเกาะไปแล้ว อึ้งเอี๊ยซือไม่สบอารมณ์ และโศกเศร้าคละกัน เมื่อศิษย์คนอื่นๆพยายามปลอบใจ แต่มิได้ระวังคำพูดทำให้เขาโกรธมาก จัดการหักขาและไล่ออกจากเกาะหมด

9. เล็กเซ็งฮวงต้องการจับตัวศิษย์พี่ทั้งสองคืนอาจารย์ จึงรวบรวมเหล่าผู้กล้ามากวรยุทธ์กระทำการ หนึ่งในนั้นมีพี่ชายของกัวเต็งอักที่ได้ชวนกัวเต็งอักมาร่วมขบวนการด้วย แต่เขาปฏิเสธเพราะอยู่ระหว่างตามรอยก๋วยเจ๋งกับแม่พี่ชายเขาโดนฆ่าตาย หลังจากนั้นอีกสองปีกัวเต็งอักได้เจอบ๊วยทิวฮวง และตั้งเฮียนฮวง และต้องการ แก้แค้นคืน

10. บ๊วยทิวฮวงและตั้งเฮียนฮวงสามารถหลบหนีจากการจับกุมของพรรคพวก เล็กเซ็งฮวง แต่ได้รับบาดเจ็บสาหัส อีกทั้งยังโดนกลุ่มเจ็ดนักพรตฉวนจินตามล่า

11. เปลี่ยนชื่อวิทยายุทธ์ใหม่ Luoying Shenjian Zhang มาเป็น Taohua Luoying Zhang

12. อ้างอิงถึงเฉียวฟงเจ้าสำนักพรรคกระยาจกในเรื่องแปดเทพอสูรมังกรฟ้า ว่าได้ดัดแปลงกระบวนท่าใหม่ให้มีพลังเพิ่มขึ้น เรียบง่ายมากขึ้น แต่เต็มไปด้วยพละกำลัง อึ้งย้งได้พูดกับสามผู้อาวุโสของสำนักพรรคกระยาจกและเล่าถึงเหตุการณ์ที่เฉียวฟงต่อสู้กับเหล่าจอมยุทธ์ร้อยกว่าคน ในเหตุการณ์ชุมชนหน้าวัดเส้าหลิน

13. พูดถึงวิทยายุทธ์และการใช้อาวุธลับในเรื่อง ได้แก่ Jiuyin Baigu claws, heart snapping palms and hundred serpent whip ว่าวิชาเหล่านี้ไม่ใช่ของอึ้งเซียง แต่เป็นวิชาที่ศัตรูของเขาลอบทำร้าย น้องชายกับน้องสาวของเขา เขาเลยทำตัวเป็นCSI และจดรายละเอียดลงในคัมภีร์ อีกทั้งยังปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

ดังนั้นที่บ๊วยทิวฮวงและตั้งเฮียนฮวงฝึกเป็นวิชาของศัตรูเขาไม่ใช่วิชาที่ อึ้งเซียงคิดค้นเอง เพราะการฝึกวิชาเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องฝึกกำลังภายใน(สายลัทธิเต๋า)

14. ก๋วยเจ๋งฝึกคัมภีร์เก้าอิมทั้งสองฉบับจากต้นฉบับ

15. ก๋วยเจ๋งกับอึ้งย้งปกป้อง Qing Zhou (เดาว่าเป็นชื่อเมือง) (ท่านกิมย้งเขียนไว้ว่าก๋วยเจ๋งกับอึ้งย้งปกป้องเมืองเซี่ยงเอี๊ยในภาคต่อไป)
ผู้บัญชาการทัพของเมืองนี้พ่ายแพ้ทันทีหลังจากที่ก๋วยเจ๋งและอึ้งย้ง ไปพบเจงกีสข่าน

16. อึ้งเอี๊ยซือเป็นผู้ตั้งชื่อให้เอียก้วย ก๋วยเจ๋งกับอึ้งย้งได้เชิญมกเนี่ยมชื้ออาศัยที่เกาะดอกท้อด้วยกัน แต่นางปฏิเสธเพราะรู้สึกโศกเศร้าที่เห็นคู่เขามีความสุข แต่เธอช้ำใจ ดังนั้นจึงตัดใจจากและสัญญาว่าจะส่งตัวเอี้ยก้วยมาให้ ทั้งสองสอนวิทยายุทธ์

17. ปู่ของอึ้งเอี๊ยซือเป็นขุนนางเก่าในราชวงศ์ซ้อง ระหว่างที่ท่านแม่ทัพงักฮุยโดนใส่ร้าย เขาเป็นผู้ร่างคำแก้ต่างให้ จนโดยไล่ออกจากราชสำนัก แต่เขายังคงเรียกร้องให้ประชาชนสู้ เพื่อความบริสุทธิ์ของแม่ทัพ ท้ายที่สุดโดยสั่งประหาร และขับไล่ทั้งครอบครัวไปสู่ยูนนาน อึ้งเอี๊ยซือก็เติบโตและเรียนหนังสือฝึกวิชาที่นั่น

เมื่อ โตเป็นหนุ่มเขามีความคิดเห็นแปลกแยกจากพ่อ และมักโต้เถียงเรื่องที่ความจงรักภักดีต่อฮ่องเต้ อีกทั้งไม่เข้าสอบสนามแข่งขันเป็นราชการ จนท้ายที่สุดโดนพ่อขับไล่ออกจากบ้าน เขาเริ่มออกท่องยุทธจักรและแต่งบทกลอนเป็นปฏิปักษ์กับทางราชการ ทางพระราชสำนักออกหมายจับแต่ไม่เป็นผล

(อึ้งเอี๊ยะซือเมื่อยังหนุ่มนั้นผิดใจกับพ่อ เลยออกจากบ้าน และ มาตั้งรกรากที่เกาะดอกท้อ ซึ่งต่อมา อึ้งย้งก็ งอน บิดาตน เรื่องที่ไปทำอาหารให้ จิ้วแป๊ะทง ก็หนีออกจากบ้านจนได้พบก๋วยเจ๋ง จากนั้นก็มีอีกคนตั้งข้อสังเกตว่าก๊วยพู้, ก๊วยเซียงก็หนีออกจากบ้านเหมือนกัน ซึ่งทำให้พิสูจน์ได้ว่าบ้านนี้นิสัยหนีออกจากบ้าน เป็นกรรมพันธุ์ของทั้งสาม เจนเนอเรชั่น )

18. มีรายละเอียดเกี่ยวกับอาจารย์ของราชันย์ทักษิณเพิ่มเติม

กระบี่กู้บัลลังก์ – รอยแหนเงาจอมยุทธ

กระบี่กู้บัลลังก์ – รอยแหนเงาจอมยุทธ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของ เนี่ยอู้เซ็ง ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทย 2 สำนวน และถูกดัดแปลงเป็นภาพยนต์ทีวีและจอใหญ่
สำนวนแรกเป็นของ จำลอง พิศนาคะ เข้าใจว่าแบ่งเป็นสองเรื่อง คือ มังกรมรกต และ จ้าวแผ่นดิน ข้อมูลส่วนนี้ต้องมีการยืนยันอีกครั้ง

มังกรมรกต
พิมพ์ครั้งที่ 1 สพ ผดุงศึกษา พิมพ์ปี พ.ศ. 2505 จำนวน – เล่มจบ (เล่มเล็ก)
จ้าวแผ่นดิน
ไม่มีข้อมูลการพิมพ์

กระบี่กู้บัลลังก์
ผู้แต่ง เนี่ยอู้เซ็ง
ผู้แปล น. นพรัตน์

พิมพ์ครั้งที่ 1 สพ สยามสปอร์ตพัลลิชชิ่ง พิมพ์ปี พ.ศ. 2528 จำนวน 3 เล่มจบ

พิมพ์ครั้งที่ 2 ใช้ชื่อว่า “รอยแหนเงาจอมยุทธ์”

รอยแหนเงาจอมยุทธ์
ผู้แต่ง เนี่ยอู้เซ็ง
ผู้แปล น. นพรัตน์

พิมพ์ครั้งที่ 2 สพ ดอกหญ้า พิมพ์ปี พ.ศ. 2537 จำนวน 1 เล่มจบ

ถ้านับลำดับความทางประวัติศ่าสตร์ เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากเรื่อง ดาบมังกรหยก ที่ประพันธ์โดยกิมย้ง นับจากจูหยวนจาง (จูง้วนเจียง) สถาปนาราชวงศ๋หมิง (เหม็ง หรือ เม้ง แปลว่า แสงสว่าง คำนี้มาจากชื่อลัทธิเม้งก่า) มาสามรัชสมัย เป็นเรื่องทายาทของขุนนางผู้จงรักต่อราชวงศ์ กับทายาทของขุนทหารที่กรำศีกมากับจูหยวนจาง แต่ค้องหนีภัยโทษตายไปอาศัยอยู่กับมงโกล หวังอาศัยกำลังมองโกลกลับมากู้แผ่นดินซ้องคืน ความรักของหนุ่มสาวกับความแค้นของตระกูล ดั่งวรรณกรรมรักรันทดคลาสสิค โรเมโอกับจูเลียต ของเชคสเปียร์

ชมวิดีโอคลิปภาพยนต์ทีวี กระบี่กู้บัลลังก์ ฉบับ หมีเซียะ หลิวสงเหยิน และฟังเพลงเพราะ

ของแถมสำหรับแฟนหมีเซียะ ชมรูป หมีเซียะ หวีอันอัน สวยๆ ในเรื่อง ศีกสองนางพญา ได้ที่
http://pyjclub.com/board/lofiversion/index.php?t721.html